2. การเชื่อมต่อของ “กฎหมาย” และ ระบบ กลไกทางเศรษฐกิจ
ความสำเร็จและชัยชนะที่สำคัญของสำนักเศรษฐศาสตร์ Chicago
School นั้นถือว่ายิ่งใหญ่มหาศาลมากเมื่อสำนักคิดนี้ได้ผลิตความคิด “การเปิดเสรีทางการค้า (Trade liberalism)” ให้สามารถแผ่ซ่านเข้าสู่หัวสมองของผู้คนจำนวนมากในโลก ทั้งนี้รวมถึงนักกฎหมายจำนวนมาก
สำหรับประเทศไทยมีสาวกจำนวยไม่น้อยที่บูชาความคิดนี้อย่างไม่ลืมหูลืมตา ขนาดนำแนวคิดที่ว่านี้บรรจุเข้าไปใน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตราที่
87 ในหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ซึ่งบัญญัติไว้ความว่า
“รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด
กำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คุ้มครองผู้บริโภคและ
ป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม
รวมทั้งยก
เลิกและละเว้นการตรากฎหมาย
และ กฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจ
ที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ
และต้องไม่ประ
กอบกิจการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่ มีความจำเป็นเพื่อประ
โยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ
รักษาผลประโยชน์ใน
การรักษาความมั่นคงของรัฐ
รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม
หรือ
การจัดให้มีการสาธารณูปโภค”
|
ภาพสะท้อนของแนวความคิดการค้าเสรี ที่ถูกฝังเข้าไปในหัวสมองของนักกฎหมายและสะท้อนแนวคิดดังกล่าวให้เป็นกติกาสูงสุดของประเทศ
ในรูปของรัฐธรรมนูญ ฯ จึงเป็นไปตามแนวทางและกับดักทางความคิดที่สำนัก
Chicago School วางไว้
จากการแอบอิงเอาวิธีคิดนี้มาจาก อันโตนิโย แกรมซี่ นักสังคมนิยมชาวอิตาเลี่ยน ที่ว่า “หากท่านสามารถเปลี่ยนหัวสมองของคนได้ แขนและขาก็จะปฏิบัติตาม” จึงไม่น่าสงสัยที่ทำไมนักกฎหมายไทย ถึงได้นำเครื่องมือทางการค้าพาณิชย์ที่ผลิตจากสำนักคิดนี้ไปบรรจุไว้ใน
รัฐธรรมนูญฯ ได้อย่างไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจ
ผู้เขียนไม่ได้มีโอกาสสำรวจว่าในประเทศอื่น ๆ เขานำมาเขียนรับรองไว้อย่างมั่นคงหนักแน่นอย่างประเทศไทยหรือไม่
จึงเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา (Unusual) และเป็นการเชื่อมต่อที่สำคัญของระบบกลไกทางเศรษฐกิจ
กับ กฎหมายได้อย่างชัดแจ้ง แม้ไม่มีเงื่อนไขข้อผูกพันในข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศใด
ๆ ก็ตาม
ถึงกระนั้นก็ตามในระเบียบการค้าระหว่างประเทศในโลกปัจจุบัน การเชื่อมต่อของกฎหมายกับระบบกลไกทางเศรษฐกิจ ในรูปแบบความสัมพันธ์ใหม่ที่มีลักษณะข้ามรัฐ
หรือภูมิภาค และ มีความสลับซับซ้อนในเขตอำนาจทางกฎหมาย
(Jurisdiction) ได้เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ใกล้ชิดแนบแน่นกันมากขึ้น
ดังจะเห็นได้จากเดิมที่พลังการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจการค้าซึ่งเกิดจากระบบและกลไกการทำงานของตลาด หรือมือที่มองไม่เห็น (Invisible
hands) ที่เป็นตัวกำหนดหรือกระทำการในทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการ ที่สร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภค
อีกทั้งเกิดการจัดสรรปันส่วนกันในสังคมอย่างยุติธรรม
โดยอาศัยตลาดเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ ดังเป็นรากเหง้าความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีของ Adam
Smith แต่มายุคหลังภายใต้อิทธิพลความคิดของ
Chicago School ผนวกกับระบบวิธีคิดในการจัดระเบียบโลกใหม่
หรือที่รู้จักกันในนาม ฉันทานุมัติแห่งวอชิงตัน
(Washington Consensus) ทำให้ระบบกลไกทางเศรษฐกิจของระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่
หาเกิดขึ้นได้จากตัว ระบบ (System) และ
กลไกการทำงานของตลาด หรือมือที่มองไม่เห็นแต่อย่างใดไม่
หากแต่เกิดจากการเขียนขึ้นเป็นข้อตกลง (Agreement)
และ มีองค์กรกำกับบริหารให้เป็นไปตามข้อตกลงนั้น
ๆ ควบคู่กับการมีมาตรการบีบบังคับลงโทษ
ด้วยวิธีการตอบโต้ด้วยมาตรการทางภาษี หรือการต้องเผชิญกับความรับผิดชอบต่อความเสียหายทางเศรษฐกิจ
จากการถูกฟ้องร้องบังคับจากคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ(Arbitration)
อย่างกรณีดับเบิลยูทีโอ กลุ่มข้อตกลงความร่วมมือทางการค้าแนวทวิภาคีนิยม
(Bilateralism) พหุภาคีนิยม(Multilateralism)
หรือ ภูมิภาคนิยม (Regionalism) ที่เกิดขึ้นในที่ต่าง
ๆ ทั่วโลก ความเปลี่ยนแปลงของระเบียบเศรษฐกิจโลกยุคใหม่
เมื่อระบบและกลไกทางเศรษฐกิจ เกิดขึ้นจากการเขียนขึ้นเป็นข้อตกลงทางการค้าไม่ว่าจะเป็น
ข้อตกลงแบบทวิภาคีหรือ พหุภาคี จึงยังผลให้การเชื่อมต่อของกฎหมายและระบบกลไกเศรษฐกิจ
เกี่ยวข้องใกล้ชิดกันมากขึ้น ความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ที่ว่านี้ ชี้ให้เห็นว่าความเกี่ยวข้องในสัมพันธภาพใหม่ มิใช่จะมองเพียงแค่การเขียนข้อตกลงเพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้าย
ทุน การผลิต หรือ การเกิดขึ้นของตลาดสินค้าและบริการ
เพราะเมื่อใดก็ตามที่กฎหมายเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรม ระบบ หรือกลไกทางเศรษฐกิจมากขึ้นเท่าใด ตัวระบบ
กลไกทางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน ย่อมใกล้ชิดกับตัว
“อำนาจ” ในทางการเมืองมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมประชาธิปไตยแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
ที่เข้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจรัฐ และกระบวนการใช้อำนาจรัฐ (Due process) ซึ่งเชื่อมโยงกับเจตจำนงของประชาชนภายในรัฐที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้รวมถึงกระบวนการใช้อำนาจที่ว่านั้นต่อสัมพันธภาพระหว่างประชาชนและองค์พระมหากษัตริย์ในฐานะผู้ทรงเป็นพระประมุข ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 กอปรกับจารีตประเพณีในทางการเมืองการปกครอง
ที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบกับการใช้อำนาจการตัดสินใจทางกฎหมาย ที่ไปเชื่อมต่อกับการนำประเทศเข้าผูกพันต่อการจัดระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำไปใช้นั้นจำต้องพิจารณาควบคู่กันไปกับหลักการแนวคิดสำคัญในทางกฎหมาย
(Legal concept) ผสมผสานกับหลักการและแนวคิดทางเศรษฐกิจ
มาใช้ร่วมกัน กล่าวโดยสรุปคือ จำต้องนำบริบททางสังคมมาผสมผสานกับบริบททางเศรษฐกิจ
ประเด็นคำถามอยู่ที่ว่า อะไรคือจุดสมดุลของการประยุกต์ใช้หลักการที่ว่านั้น
เช่นเดียวกับ กระบวนการใช้อำนาจรัฐ
(Due process) ที่ต้องถักทอกับเจตจำนงของประชาชนภายในรัฐ ซึ่งต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งหลักการสำคัญในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนอีกด้วยเป็นเงาตามตัว
การเชื่อมต่อของกฎหมาย
และระบบกลไกทางเศรษฐกิจ ในการเปลี่ยนแปลงระเบียบเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศยุคใหม่
ซึ่งเกิดจากการเขียนเป็นข้อตกลงอย่างกรณีการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี
หรือ เอฟทีเอ (Free Trade Agreement) ซึ่งเกิดขึ้นจากการเจรจาของคู่เจรจา และนำไปสู่ข้อตกลงทางการค้า
ที่สามารถเป็นกฎกติกาบังคับต่อกัน สามารถให้คุณให้โทษต่อกันและกันในทางเศรษฐกิจได้นั้น
จึงขึ้นอยู่กับกลุ่มผลประโยชน์ที่มีอำนาจและมีหน้าที่ ๆ จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเจรจา
ซึ่งโดยมากจะอยู่ในลักษณะความสัมพันธ์แบบยื่นหมูยื่นแมว
แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกันภายในคู่เจรจาของแต่ละฝ่าย
ซึ่งถือเป็นกระบวนการใช้อำนาจรัฐที่มีความสำคัญมาก
เพราะผลจากการเจรจาที่นำไปสู่ข้อตกลง อาจจะนำไปสู่การจำกัดสิทธิ หรือเกิดข้อผูกพันทางกฎหมายแก่บุคคลภายในรัฐได้
ด้วยเหตุนี้ประเด็นสำคัญในทางกฎหมายที่นอกจากความผูกพันระหว่างประเทศ(International
obligations) ที่จะเกิดขึ้นกับรัฐไทยอย่างไรแล้วกระบวนการใช้อำนาจ
(Due process) ที่สะท้อนถึงเจตจำนงของประชาชนภายในรัฐ จึงถือเป็นอีกส่วนหนึ่งในมิติทางกฎหมายที่จะต้องนำมาพิจารณา
ตรวจสอบ เพื่อจะนำไปตอบคำถามว่าการใช้อำนาจกระทำการของรัฐนั้น
ชอบด้วยกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และ
หลักการสำคัญเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของพลเมืองภายในชาติหรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น