นาฬิกา

เซี่ยมซีหลวงพ่อพระชีว์

สรุปตลาดหุ้น

ตารางฟุตบอล

สร้างรายได้เพียงง่ายๆ

Subscribe in a reader Google AdSense คือบริการจาก Google ที่ให้ผู้ที่มีเว็บไซต์ สามารถหารายได้โดยการนำ Code ที่ได้จากการสมัครเป็นสมาชิกของ Google มาใส่ไว้ที่เว็บไซต์ของตนเอง ซึ่ง Code นั้นจะเป็น โฆษณาที่ส่งมาจาก Google โดยโฆษณานั้น ๆ จะเป็นโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ ตัวอย่างเช่นถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว โฆษณาที่ส่งมาจาก Google ก็อาจเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ โรงแรม,สายการบิน เป็นต้น

ข้อความ

ข้อความ

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุปความคิดเห็นต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ


สรุปความคิดเห็นต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
โดย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้นำเสนอการประมวลผลจากการประชุมระดมความคิดเห็น ทั้ง 5 ครั้ง ในช่วงเดือนสิงหาคม-เดือนกันยายน 2544 ซึ่งมีผู้แทนและผู้สนใจจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรพัฒนาเอกชนเข้าร่วม โดยยึดแนวทางการประเมินของคณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (UN CSD) สรุปได้ดังนี้
การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย เป็นการพัฒนาที่ต้องคำนึงถึงความเป็นองค์รวมของทุกๆ ด้านอย่างสมดุล บนพื้นฐานของทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่ม ด้วยความเอื้ออาทร เคารพซึ่งกันและกัน เพื่อความสามารถในการพึ่งตนเองและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียม
ทบทวนการพัฒนาที่ผ่านมา
ก. ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนของชาติ
·         รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2540 ก็ถือเป็นกรอบนโยบายแห่งรัฐที่สำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สำคัญ มีผลทำให้ในการปฏิรูปโครงสร้างการเมืองการปกครองหลายประการ อาทิ การประกาศใช้ พ.ร..บ. แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 รวมถึงการจัดตั้งองค์กรอิสระและองค์กรต่างๆ ขึ้น เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ
·         ประเทศไทยมี 2 หน่วยงานหลัก ทำหน้าที่รับผิดชอบการกำหนดนโยบายและแผนหลักของประเทศ ซึ่งมีผลนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รับผิดชอบจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะ 5 ปี และ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดย สผ. ยังทำหน้าที่เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ "คณะอนุกรรมการกำกับการอนุวัตแผนปฏิบัติ 21 และการพัฒนาที่ยั่งยืน" ที่ต้องจัดทำรายงานแห่งชาติทบทวนผลการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
·         นโยบายและแผนหลักของประเทศยังขาดวิสัยทัศน์ในระยะยาว และยังไม่มีการบูรณาการประเด็นด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่ดีพอ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาหลักอีกประการคือ การนำนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติ และมีข้อจำกัดอื่นๆ คือ ระบบฐานข้อมูลยังไม่มีความสมบูรณ์ ขาดตัวชี้วัดการพัฒนา มีข้อจำกัดเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจและศักยภาพของประชาชน การประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 การไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเมือง และมีปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย
ข. การบูรณาการและการมีส่วนร่วม
·         การบูรณาการและการมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้นในรูปแบบของคณะกรรมการร่วมและคณะทำงานต่างๆ ดังเช่น คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ NCSD-Thailand ซึ่งได้มีการปรับปรุงโครงสร้าง เพื่อให้มีส่วนร่วมของพหุภาคีมากขึ้น สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ถูกแต่งตั้งขึ้นจากผู้มีประสบการณ์และผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการเสนอชื่อจากสาขาต่างๆ ทั่วประเทศ แต่คณะกรรมการฯ ทั้งสองเพิ่งจะมีการปรับปรุงและจัดตั้งขึ้นมาใหม่ จึงยังไม่มีบทบาทมากนักในปัจจุบัน
·         ทบทวนนโยบายและแผนของประเทศ
o    ยังขาดประสิทธิภาพในแง่ของการบูรณาการประเด็นต่างๆ เข้าอย่างเป็นองค์รวม
o    ไม่สามารถให้เกิดขึ้นด้วยการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนทุกๆ กลุ่มในสังคม
o    ยังมีช่องว่างระหว่างนโยบายของประเทศและการปฏิบัติในระดับท้องถิ่น
o    ต้องอาศัยการปรับปรุงกลไกในการประสานงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งการประสานระหว่างภาครัฐทั้งส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น และประชาชน
·         การพัฒนากลไกในประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่าง สผ. กับ สศช. นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการบูรณาการระดับนโยบายและแผนงาน รวมทั้งการตัดสินใจ เนื่องจาก สผ. รับผิดชอบงานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก และ สศช. ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลงานด้านเศรษฐกิจแม้ว่าจะผนวกด้านสังคมเข้าไปภายหลัง
·         การมีส่วนร่วมของประชาชน มีการปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ก็ยังไม่มีความต่อเนื่อง และขาดกลไกที่เอื้อกับประชาชนในท้องถิ่นห่างไกลและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
·         การมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ปรากฎในกระบวนการประชาพิจารณ์ในโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ ยังขาดความชัดเจนและยังมีการการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม นำไปสู่ความขัดแย้งและการเผชิญหน้าในสังคมที่มีการรับรู้และมีผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน
·         การพัฒนาของประเทศยังต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของกลุ่มประชาสังคม และกลุ่มหลักต่างๆ ให้มากขึ้น โดยการมีส่วนร่วมจะต้องเกิดขึ้นตั้งแต่ระดับการตัดสินใจ
·         การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่แท้จริง จะเอื้อต่อการมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นได้กว้างขวางมากขึ้น แต่การดำเนินงานตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น ได้ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนงานที่กำหนดไว้
ค. ประเด็นปัญหาที่สำคัญยิ่งของประเทศ
·         รายงานแห่งชาติของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2540 ได้ระบุประเด็นปัญหาของประเทศที่มีความสำคัญสูงมากในลำดับต้น คือ ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อกระตุ้นการพัฒนาที่ยั่งยืนและนโยบายภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง (โดยเน้นทางด้านการค้า) และบูรณาการเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาในระดับการตัดสินใจ
·         จากความคิดเห็นที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อหลักจริยธรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และได้ระบุประเด็นปัญหาที่สำคัญยิ่งของประเทศ คือ
o    ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อกระตุ้นการพัฒนาที่ยั่งยืนและนโยบายภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง (โดยเน้นด้านการค้า)
o    การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภค m การส่งเสริมการศึกษา การฝึกอบรม และการสร้างสำนึกสาธารณะ
o    กลไกของประเทศในการเพิ่มศักยภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ง. ประเด็นสำคัญของโลก: การศึกษา การฝึกอบรมและการสร้างสำนึกสาธารณะ
·         แม้ว่า รัฐบาลได้มีการขยายการศึกษาภาคบังคับมาโดยตลอด แต่ไม่สามารถทำให้คนไทยสามารถพึ่งพาตนเองและสามารถรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของตนเองและของประเทศได้
·         การศึกษาในระบบเดิมมักเป็นการสร้างการรับรู้ มากกว่าการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
·         ปัจจุบัน รัฐบาลได้ดำเนินการการปฏิรูปการศึกษาตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรรมนูญ เป็นผลให้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และได้ริเริ่มโครงการรุ่งอรุณขึ้น ในปี พ.ศ. 2541 เพื่อเป็นรูปแบบการศึกษาเชิงปฏิบัติการในโรงเรียนทั่วประเทศควบคู่กันไป
·         เกิดรูปแบบการศึกษาทางเลือกทั้งในและนอกเหนือจากการดูแลของรัฐ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับบางกลุ่ม ปรับปรุงการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงวิถีชีวิตกับสภาพแวดล้อม
หนทางข้างหน้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
จ. ความท้าทายที่สำคัญและหนทางข้างหน้า
·         จำเป็นต้องอาศัยวิสัยทัศน์เชิงยุทธระยะยาวที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ ตามแนวทางหลักของความพอเพียง เป็นพื้นฐาน และด้วยคุณค่าทางจริยธรรม และ ต้องดำเนินการไปด้วยความเคารพ ทั้งเคารพต่อสิทธิมนุษยชน สิทธิแห่งรัฐ และเคารพธรรมชาติ
·         ก้าวสู่วิถีการพัฒนาที่ยั่งยืนในลักษณะเชิงรุกและเป็นประโยชน์ได้มากขึ้น ด้วยยุทธศาสตร์ต่อไปนี้ :
1.      ความร่วมมือและภาคีภาพ: บนพื้นฐานของ"กัลยาณมิตร"
2.      การกระจายอำนาจและส่งเสริมความเข้มแข็งในท้องถิ่น: เพื่อความเสมอภาคและคุณภาพชีวิตที่เท่าเทียมกัน
3.      ความสมดุล: ทางสายกลางและความสมดุลของท้องถิ่นกับโลก
4.      การบูรณาการ: การผนวกต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมและสังคมเข้าไว้ในสินค้า บริการ
man";c�%B.:l�$h�n style='mso-tab-count:2'>                   ๑.๑.๔ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ ทั้งจะกำหนดมาตรการในการตรวจสอบ ตลอดจนซักซ้อมความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมิ ให้มีการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพดังกล่าว โดยมีสถาบันการศึกษาและสื่อสารมวลชนทั้งภาครัฐและภาคเอก ชนเข้ามามีบทบาทด้วย
                   ๑.๑.๕ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง ในเรื่องสำคัญ การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจ รัฐ โดยวิธีการประชุมปรึกษาหารือกับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือชุมชน การทำประชาพิจารณ์ หรือประชา มติแล้วแต่กรณี โดยให้สถาบันทางวิชาการ สื่อสารมวลชน องค์กรอาชีพภาคเอกชน และองค์กรเอกชน สาธารณประโยชน์เข้ามามีบทบาทในการร่วมดำเนินการ
                   ๑.๑.๖ จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติด้วยกระบวนการคัดเลือกที่ปลอดจากการแทรกแซงทางการ เมืองเพื่อร่วมกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ จัดทำ แผนพัฒนาการเมืองและมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และ พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติหน้าที่ แล้วประกาศใช้ต่อไป
          ๑.๒ การปฏิรูประบบบริหารราชการ
                   ๑.๒.๑ปรับปรุงและเร่งรัดการจัดโครงสร้างและระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญ เพื่อให้สามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิ ภาพ รวดเร็ว และเสมอภาค
                   ๑.๒.๒ ปรับปรุงระบบงานภาคราชการและรัฐวิสาหกิจให้เป็นระบบเปิดโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นปราศจากการเลือกปฏิบัติ และเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมโดยการจัดทำ แผนพัฒนาระบบราชการและมาตรฐานคุณภาพงานราชการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
                   ๑.๒.๓ ปรับปรุงคุณภาพข้าราชการในการทำงานโดยเน้นผลงาน การมีคุณภาพ ความซื่อสัตย์สุจริต การมีจิตสำนึกในการให้บริการประชาชน และมีความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ทำงานคุ้มค่ากับผลตอบแทน โดยจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ และการส่งเสริมขวัญกำลังใจข้าราชการ
                   ๑.๒.๔ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในวงราชการและวงการเมือง ด้วยการเร่งออกกฏหมายจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและกฏหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ในระหว่างนี้ จะพัฒนาระบบบริหารราชการของหน่วยงานทั้งหลายที่มีอยู่แล้วให้บุคลากรมีความพร้อมและทำงาน ประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฏหมายตามข้อนี้เป็นกฏหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา ๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญ
                   ๑.๒.๕เร่งรัดการออกกฏหมายเพื่อกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดแผนและขั้นตอนดำเนินการเป็นการด่วน ระบุอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ระหว่างราชการส่วนกลางกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันอย่างชัดเจน เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจและบทบาทเพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนการ แบ่งสรรภาษีอากรให้แก่ท้องถิ่น นอกจากนั้น จะดำเนินการปรับปรุงรูปแบบขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นให้มีเพียง ๔ รูปแบบ คือ
            (๑)องค์การบริหารส่วนจังหวัด
            (
๒)เทศบาล
            (
๓)องค์การบริหารส่วนตำบลและ
            (
๔) การปกครองรูปแบบพิเศษ
ทั้งนี้ สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ส่วนผู้บริหารท้องถิ่นหรือ คณะผู้บริหารท้องถิ่นอาจจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือโดยความเห็นชอบของสภา ท้องถิ่นก็ได้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบ และระยะเวลาที่เหมาะสม
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฏหมายตามข้อนี้เป็นกฏหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา ๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญ
                   ๑.๒.๖ ลดบทบาทการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐพร้อมกับสนับสนุนให้ภาคเอกชนรับไปดำเนิน การร่วมกับรัฐ หรือแทนรัฐอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวย บริการแก่ประชาชน และลดภาระการลงทุนของภาครัฐเป็นสำคัญ รวมทั้งจะไม่ดำเนินการใด ๆ ที่มีผลให้ เกิดการผูกขาด ทั้งนี้ จะอาศัยมาตรการทางกฏหมายเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ารับช่วงงานบริการประชาชน ได้คล่องตัวมากขึ้น ส่วนการคุ้มครองผู้ใช้บริการให้ได้รับบริการที่เพียงพอ มีคุณภาพ ในราคาที่เป็นธรรม ก็จะดำเนินการไปพร้อมกันโดยจัดทำแผนแม่บทขึ้นเป็นกรอบกำกับการดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน อย่างเป็นระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาและนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ
                   ๑.๒.๗ เร่งรัดให้มีการออกกฏหมายใหม่หรือปรับปรุงแก้ไขกฏหมายที่มีอยู่แล้วเพื่อเพิ่มมาตรการ ในการคุ้มครองเด็กเยาวชนและสตรี การสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้ด้อย โอกาส การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภค การขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคม และในการ แข่งขันทางการค้าและการลงทุน การปฏิรูปหรือการใช้ประโยชน์ที่ดิน การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยดำเนินการในลักษณะของการปฏิรูป กฏหมาย อย่างเป็นระบบ อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฏหมายตามข้อนี้กฏหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา ๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญ
esW�A o�$h�o-hansi-font-family:"Times New Roman";color:black'>ยา และผลิตภัณฑ์เคมี ไปใช้เพื่อประกอบการพิจารณารับขึ้นทะเบียนยา หรือ ผลิตภัณฑ์เคมี อันเป็นการยอมรับโดยปริยายว่าบริษัทต้นตำรับเป็นเจ้าของข้อมูลผลการทดสอบ ข้อห้ามการใช้ข้อมูลทดสอบที่ว่านี้จะมีไปถึง  พนักงานเจ้าหน้าที่ ๆ มีหน้าที่ในการขึ้นทะเบียนยา หรือผลิตภัณฑ์เคมี บริษัทหรือบุคคลอื่น ในการใช้ข้อมูลผลการทดสอบดังกล่าว   อันเป็นการจำกัดสิทธิของพนักงานเจ้าหน้าที่ และบุคคล ที่จะอาศัยผลการทดสอบดังกล่าวมาใช้กับยา หรือผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน  ผลอันนี้ทำให้บริษัทที่ได้สิทธิผูกขาดในข้อมูลการทดสอบดังกล่าว และยังห้ามมิให้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกันเป็นเวลา 5 ปีนับแต่วันขึ้นทะเบียนของบริษัทที่เป็นเจ้าของข้อมูลการทดสอบ และยังห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับขึ้นทะเบียน ยา หรือผลิตภัณฑ์แล้วแต่กรณี โดยอาศัยผลข้อมูลจากบริษัทเจ้าของข้อมูล เพื่อนำยาหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ออกจำหน่ายในท้องตลาดอีกด้วย   การทำข้อตกลงเอฟทีเอโดยเฉพาะกับประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะต้องถูกบังคับให้ยอมรับในข้อตกลงเพื่อการคุ้มครองข้อมูลการทดสอบทางยา หรือ ผลิตภัณฑ์ทางเคมี   ก็เพื่อปิดประตูบริษัทยาในประเทศที่แม้จะได้วิจัยยาใหม่ได้สำเร็จ แต่ก็จะต้องมาติดขัดกับการใช้ข้อมูลการทดสอบ (Test data)  ที่ได้รับความคุ้มกันและผูกขาด  การจะนำยาที่ค้นคิดไปขึ้นทะเบียนก็ต้องทำการทดลองเอาเอง ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนานมาจนกว่าจะได้ข้อมูลผลทดสอบทางยา  จึงเป็นการปิดประตูตายของผู้ผลิตยาภายในประเทศ   ยิ่งไปกว่านั้นมาตรการให้ความคุ้มครองข้อมูลการทดสอบตามข้อตกลงเอฟทีเอจากสหรัฐอเมริกายังจะเป็นการ ปิดโอกาส   ให้การบังคับใช้สิทธิ (Compulsory licence) อันเป็นมาตรการเดียวของรัฐที่จะใช้อำนาจภายใต้ประโยชน์สาธารณะ (Public interested)  เพื่อคัดคานกับการผูกขาดยาหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคุ้มครองไปแล้วจากระบบสิทธิบัตร  ให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม  สามารถทำได้ต่อไป  เพราะผลจากการให้สิทธิผูกขาดในข้อมูลการทดสอบ  ซึ่งหากรัฐจะบังคับใช้สิทธิผลิตยา  ก็ต้องไปติดขัดในการขึ้นทะเบียนตำรับยาอันเนื่องจาก ข้อห้ามการใช้ข้อมูลผลการทดสอบอยู่ดี   ข้อจำกัดหรือข้อห้ามนี้ครอบคลุมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยตรง  รวมถึงบริษัทหรือบุคคลที่จะผลิตยาจากการบังคับใช้สิทธิดังกล่าวนี้ด้วย  ทำให้หลักเกณฑ์การบังคับใช้สิทธิเป็นหมัน และไม่เกิดผลในทางปฏิบัติในทางเป็นจริง
            (4)  ในกรอบข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ภายใต้ข้อตกลงเอฟทีเอยังเข้าไปจำกัดอำนาจรัฐอีกหลายเรื่องตามมา เช่น การจำกัดการบังคับใช้สิทธิ (Compulsory licence) การห้ามมิให้เพิกถอนสิทธิบัตร (Revocation) และ การห้ามนำเข้าซ้อน (Parallel Import) ซึ่งในแต่ละมาตรการดังกล่าวล้วนแล้วแต่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อป้องกันปัญหาการผูกขาด ทำให้ยามีราคาแพง เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เกิดความเดือดร้อนมาสู่สังคม เป็นข้อจำกัดอำนาจรัฐที่จะถูกนำมาบังคับใช้ภายใต้กรอบที่คับแคบและจำกัด กล่าวคือ จะให้บังคับการใช้สิทธิต่อเมื่อ เพื่อป้องกันการกระทำที่นำไปสู่การจำกัดการแข่งขัน ซึ่งต้องถูกตัดสินตามกฎหมายป้องกันการแข่งขันของประเทศเจ้าของสิทธิ (สหรัฐ) และ ใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ที่ไม่ใช่การค้าเชิงพาณิชย์ หรือในกรณีฉุกเฉินของชาติ ที่มีจำเป็นเร่งด่วนโดยจะต้องให้เจ้าของสิทธิสามารถโต้แย้งคัดค้านต่อศาลได้   สำหรับกรณีการนำเข้าซ้อนเพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่จะซื้อยาประเภทและชนิดเดียวกันในราคาที่ถูกลง  ก็ไม่สามารถทำได้เพราะเป็นข้อห้ามที่ไม่สามารถทำได้เช่นกัน
            (5) ในกรอบข้อตกลงเอฟทีเอของสหรัฐในเรื่องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ (Copyrights) ยังบังคับให้ประเทศคู่เจรจายอมรับและเข้าเป็นภาคีในข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิตอล การใช้อินเตอร์เน็ท สัญญาณดาวเทียมในอีก 3 ข้อตกลงคือ WIPO Copyright Treaty, 1966, WIPO Performances and Phonograms Treaty, 1966 และ Convention Relating to the Distribution of Program-Carrying Signals Transmitted by Satellite, 1974  โดยขยายอายุความคุ้มครองในลิขสิทธิ์เป็นเวลา 70 ปีนับจากวันที่เจ้าของผู้สร้างสรรค์งานถึงแก่ความตาย   บังคับให้ประเทศคู่เจรจาต้องป้องกันการถอดรหัสสัญญาณดาวเทียมจากอุปกรณ์ที่ใช้ถอดรหัส  การให้ความคุ้มครองจากการทำซ้ำชั่วคราว (Temporary reproduction)  ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์   การบังคับให้ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ท (Internet service providers)  ต้องรับผิดชอบตามกฎหมายหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านเครือข่ายของตน และยอมให้เจ้าของลิขสิทธิ์ตรวจสอบการใช้และการทำซ้ำจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ท เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการดำเนินคดีในศาล  และที่ไปไกลกว่านั้นคือ การกำหนดให้ความผิดจากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเป็น อาญาแผ่นดิน  ที่ทำให้เจ้าพนักงานสอบสวนสามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ทันที  โดยไม่จำต้องมีผู้เสียหายร้องทุกข์กล่าวโทษก่อน   อันจะเป็นการนำและใช้ทรัพยากรของประเทศเพื่อคุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของเอกชน    และขนาดมีความพยายามจากรัฐมนตรีไทยบางคนที่ จะให้กำหนดความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาเข้าไปเป็นลักษณะความผิด เพิ่มเติมในความผิดมูลฐานตาม กฎหมายการฟอกเงินอีกด้วย   การบริหารยุทธ์ศาสตร์นโยบายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (ไม่แน่ใจว่าจะมีหรือไม่)  นับได้ว่าไปไกลเกินกว่าที่จะได้ล่วงรู้ถึงอุปสรรค์ ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต ว่าจะกว้างใหญ่ไพศาลลุ่มลึก ขนาดไหนหากจะต้องปฏิบัติตามกรอบข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาตามที่ สหรัฐอเมริกาเสนอและยังนำไปเป็นโทษอาญาแผ่นดิน และเป็นความผิดมูลฐานตาม กฎหมายป้องกันการฟอกเงิน

ไม่มีความคิดเห็น: