๑๕. ข้อสรุปของรัฐธรรมนูญไทย
๑) รัฐธรรมนูญไทยเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษร
๒) รัฐธรรมนูญไทยมีหลายฉบับ อีกทั้งเปลี่ยนแปลงเร็วในแง่เวลา และเปลี่ยนแปลงมากในแง่เนื้อหาสาระด้วย
๓) รัฐธรรมนูญไทยมีอายุใช้งานนานสุด ๑๓ ปี ๔ เดือน ๒๙ วัน และเร็วสุด ๔ เดือน ๑๓ วัน
๔) รัฐธรรมนูญไทยมีอายุใช้งานเฉลี่ยฉบับละ ๔ ปี
๕) รัฐธรรมนูญไทยมีทั้งฉบับชั่วคราว และฉบับถาวร โดยที่ฉบับชั่วคราวสามารถมีอายุใช้งานได้นานถึง ๙ ปี ๕ เดือน ๒๒ วัน ขณะที่ฉบับถาวรบางฉบับมีอายุเพียง ๑ ปี
๖) รัฐธรรมนูญไทยมีถึง ๓ ระบอบ คือ รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย เผด็จการและกึ่ง ประชาธิปไตย โดยรัฐธรรมนูญเผด็จการมีอายุใช้งานรวมมากที่สุดถึง ๓๙ ปี ๔ เดือน ๒ วัน
๗) รัฐธรรมนูญไทยส่วนใหญ่เอื้อต่อการเข้าสู่อำนาจและการพ้นจากอำนาจของ ผู้ปกครอง โดยอาศัยกำลังบังคับซึ่งเป็นวิถีทางของการใช้ความรุนแรง
๘) รัฐธรรมนูญไทยส่วนใหญ่เน้นส่งเสริมอำนาจของผู้ปกครองมากกว่าการรับรอง และประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๙) รัฐธรรมนูญไทยทั้ง ๑๖ ฉบับ มีที่มาจากการใช้กำลังบังคับ ๘ ฉบับ และจาก ความตกลงยินยอม ๘ ฉบับ
๑๐) รัฐธรรมนูญไทยมีที่มาจากผู้ปกครองเกือบทั้งสิ้น
๑๑) รัฐธรรมนูญไทยมีบทบัญญัติมากที่สุด ๓๓๖ มาตรา และน้อยที่สุด ๒๐ มาตรา
๑๒) รัฐธรรมนูญไทยมีที่มาเริ่มแรกจากการสถาปนาระบอบการปกครองใหม่
๑๓) รัฐธรรมนูญไทยทั้งเริ่มแรกและส่วนใหญ่มาจากการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจของผู้ปกครอง
๑๔) รัฐธรรมนูญไทยไม่ก่อให้เกิดจุดเริ่มของการสร้างวิวัฒนาการใหม่ในทางการเมือง การปกครอง
๑๕) รัฐธรรมนูญไทยที่ผ่านมาลิดรอนสิทธิของประชาชน มากกว่าส่งเสริมและเป็นอุปกรณ์เกื้อกูลสิทธิของประชาชน
๑๖) รัฐธรรมนูญไทยส่วนใหญ่ยังขาดความเป็นกฎหมายสูงสุด
๑๗) รัฐธรรมนูญไทยมีเนื้อหาสาระโน้มเอียงไปทางหลักรัฐธรรมนูญนิยม แต่ในทางปฏิบัติผู้ปกครองเอาไปใช้ขัดกับหลักการ
๑๘) รัฐธรรมนูญไทยอิงกับหลักการสิทธิ ประชาชนเกิดขึ้นมาทีหลังรัฐธรรมนูญ
๑๙) รัฐธรรมนูญไทยมีแนวโน้มอิงหลักปฏิบัติได้มากกว่าหลักความสมบูรณ์แบบ
๒๐) รัฐธรรมนูญไทยอยู่ใต้กระแสการเมือง มากกว่าการเป็นปัจจัยอุปกรณ์ในการกำหนดวิวัฒนาการทางการเมือง
๒๑) รัฐธรรมนูญไทยให้ความสำคัญกับสิทธิในการกุมอำนาจของผู้ปกครอง มากกว่าสิทธิของประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจ
๒๒) รัฐธรรมนูญไทยให้ความสำคัญการใช้อำนาจเพื่อการปกครองของผู้ปกครอง มากกว่าการประกันสิทธิอำนาจของประชาชน ในฐานะผู้ควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ปกครอง
๒๓) รัฐธรรมนูญไทยมุ่งตอบสนองเจตนารมณ์ของผู้ปกครอง มากกว่ามุ่งบรรลุเจตจำนง ของประชาชน
๒๔) รัฐธรรมนูญไทยมีฐานะเป็นเครื่องมือของผู้ปกครอง มากกว่าฐานะของกฎหมายและ การเป็นองค์ประกอบร่วมของระบบการเมือง
๒๕) รัฐธรรมนูญไทยส่วนน้อยที่รับรองให้มีพรรคการเมือง ส่วนใหญ่ไม่รับรองให้มี
๒๖) รัฐธรรมนูญไทยเป็นพินัยกรรมอำนาจของชนชั้นนำ
๒๗) รัฐธรรมนูญไทย (ฉบับปัจจุบัน) เน้นการปฏิรูปการเมืองในทิศทางที่ก้าวหน้า กว่าในอดีต
๒๘) รัฐธรรมนูญไทย (ฉบับปัจจุบัน) ก่อให้เกิดจุดเปลี่ยนในการสร้างวิวัฒนาการใหม่ ทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น