รัฐธรรมนูญกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ในอดีตที่ผ่านมา การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละครั้งจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดการและดูแลการเลือกตั้งคือ กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีเครือข่ายและกลไกที่มีความพร้อมในการจัดเตรียมการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อย แต่อย่างไรก็ดี
การที่กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานในสังกัดของฝ่ายบริหาร ทำให้สาธารณชนมีความกังวลในความเป็นกลางของเจ้าพนักงาน ถึงกับมีข้อครหาว่ามีความเอนเอียงไปตามผู้มีอำนาจทางการเมืองที่บริหารกระทรวงมหาดไทยในขณะที่มีการจัดการเลือกตั้งนั้น ซึ่งอาจทำให้เกิดคุณหรือโทษต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้
ดังนั้น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 จึงกำหนดให้มีองค์กรใหม่ทำหน้าที่จัดการและควบคุมดูแลการเลือกตั้งทุกระดับโดยเฉพาะคือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดคือ
-ออกประกาศกำหนดเรื่องทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญ กำหนดไว้
- มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐปฏิบัติการทั้งหลายอันจำเป็นตามกฎหมาย
-สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริง และวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
- สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใด หน่วยเลือกตั้งหนึ่ง หรือทุกหน่วยเลือกตั้ง เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้ง หรือการออกเสียงประชามติในหน่วยเลือกตั้งนั้นๆมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
-ประกาศผลการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ
- ดำเนินการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงโดยพลัน เมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่ง คัดค้านว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กรใหม่ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุมดูแลการเลือกตั้งทุกระดับเป็นอิสระและเป็นกลางทางการเมือง ในระยะเริ่มแรกอาจจะมีเครือข่ายที่ยังไม่สมบูรณ์ทั้งหมด แม้รัฐธรรมนูญจะได้ให้อำนาจแก่คณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะสั่งการเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกหน่วยให้สนับสนุนในการจัดการเลือกตั้งก็ตาม แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งมิได้เป็นผู้บังคับบัญชาที่จะให้คุณให้โทษแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐตามหน่วยงานต่าง ๆ ได้โดยตรง
และเพื่อสนับสนุนให้การทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งสามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องอาศัยพลังจากประชาชนทุกหมู่เหล่าคอยสอดส่อง แจ้งพฤติกรรมอันไม่ชอบมาพากลของผู้สมัครรับเลือกตั้งสู่คณะกรรมการเลือกตั้งเพื่อพิจารณาสอบสวนหาข้อเท็จจริงหรือสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ต่อไป
รัฐธรรมนูญกับข้อห้ามสำหรับ ส.ส. และ ส.ว.
ดังนั้น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 จึงกำหนดให้มีองค์กรใหม่ทำหน้าที่จัดการและควบคุมดูแลการเลือกตั้งทุกระดับโดยเฉพาะคือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดคือ
-ออกประกาศกำหนดเรื่องทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญ กำหนดไว้
- มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐปฏิบัติการทั้งหลายอันจำเป็นตามกฎหมาย
-สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริง และวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
- สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใด หน่วยเลือกตั้งหนึ่ง หรือทุกหน่วยเลือกตั้ง เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้ง หรือการออกเสียงประชามติในหน่วยเลือกตั้งนั้นๆมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
-ประกาศผลการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ
- ดำเนินการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงโดยพลัน เมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่ง คัดค้านว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กรใหม่ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุมดูแลการเลือกตั้งทุกระดับเป็นอิสระและเป็นกลางทางการเมือง ในระยะเริ่มแรกอาจจะมีเครือข่ายที่ยังไม่สมบูรณ์ทั้งหมด แม้รัฐธรรมนูญจะได้ให้อำนาจแก่คณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะสั่งการเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกหน่วยให้สนับสนุนในการจัดการเลือกตั้งก็ตาม แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งมิได้เป็นผู้บังคับบัญชาที่จะให้คุณให้โทษแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐตามหน่วยงานต่าง ๆ ได้โดยตรง
และเพื่อสนับสนุนให้การทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งสามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องอาศัยพลังจากประชาชนทุกหมู่เหล่าคอยสอดส่อง แจ้งพฤติกรรมอันไม่ชอบมาพากลของผู้สมัครรับเลือกตั้งสู่คณะกรรมการเลือกตั้งเพื่อพิจารณาสอบสวนหาข้อเท็จจริงหรือสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ต่อไป
รัฐธรรมนูญกับข้อห้ามสำหรับ ส.ส. และ ส.ว.
ในการพัฒนาระบบการเมืองและการปกครอง
สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิก-สภาผู้แทนราษฎร ถือเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยนำพาสังคมไทยไปสู่จุดมุ่งหมายดังกล่าว เพราะ ส.ส. และ ส.ว.
ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนให้เป็นผู้แทนในสภา มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหลายประการ โดยเฉพาะควบคุมการทำงานของ
คณะรัฐมนตรี มีโอกาสจะใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ได้ง่าย
ฉะนั้น รัฐธรรมนูญจึงได้กำหนดข้อห้ามสำหรับ
ส.ส. และ ส.ว. ว่า เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้ว ห้ามใช้อำนาจหน้าที่ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
หรือตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
ทั้งนี้นอกจากข้าราชการการเมืองอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรี อีกทั้งต้องไม่รับสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐอันมีลักษณะผูกขาดตัดตอนหรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว
- ต้องไม่รับเงินหรือประโยชน์จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐเป็นพิเศษ นอกเหนือไปจากที่ปฏิบัติกับบุคคลอื่นๆ ในธุรกิจการงานปกติ
- จะต้องไม่ใช้สถานะ หรือตำแหน่งเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการบรรจุ แต่งตั้ง ย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง พนักงาน หรือลูกจ้าง หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีที่ ส.ส. หรือ ส.ว. กระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าวจะต้องพ้นจากตำแหน่งแล้วแต่กรณี และ ส.ส. หรือ ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานสภาที่ตนเป็นสมาชิก เพื่อให้ส่งเรื่องการกระทำของ ส.ส. หรือ ส.ว. ที่ฝ่าฝืนข้อห้ามนั้นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่
ตามรัฐธรรมนูญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต่างก็มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง ทุกสิ่งทุกอย่างที่กำหนดไว้เป็นสิ่งที่สะท้อนความต้องการของประชาชน แม้รัฐธรรมนูญจะเป็นกติกาสูงสุดแต่การที่จะให้รัฐธรรมนูญมีผลในทางปฏิบัติที่สมบูรณ์ต้องอาศัยกระบวนการอื่นๆ เช่น ได้คนที่ดี มีคุณวุฒิ มีประสบการณ์ ซื่อสัตย์สุจริตเข้ามาช่วยกันบริหารดูแลบ้านเมือง การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติข้อห้ามสำหรับสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาไว้ดังกล่าว ก็เพื่อให้ตระหนักถึงขอบข่ายอำนาจหน้าที่ที่ควรจะต้องรับผิดชอบ ไม่ละเมิดต่อข้อห้ามหรือข้อบังคับที่กำหนดไว้ ในรัฐธรรมนูญ.
- ต้องไม่รับเงินหรือประโยชน์จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐเป็นพิเศษ นอกเหนือไปจากที่ปฏิบัติกับบุคคลอื่นๆ ในธุรกิจการงานปกติ
- จะต้องไม่ใช้สถานะ หรือตำแหน่งเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการบรรจุ แต่งตั้ง ย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง พนักงาน หรือลูกจ้าง หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีที่ ส.ส. หรือ ส.ว. กระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าวจะต้องพ้นจากตำแหน่งแล้วแต่กรณี และ ส.ส. หรือ ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานสภาที่ตนเป็นสมาชิก เพื่อให้ส่งเรื่องการกระทำของ ส.ส. หรือ ส.ว. ที่ฝ่าฝืนข้อห้ามนั้นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่
ตามรัฐธรรมนูญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต่างก็มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง ทุกสิ่งทุกอย่างที่กำหนดไว้เป็นสิ่งที่สะท้อนความต้องการของประชาชน แม้รัฐธรรมนูญจะเป็นกติกาสูงสุดแต่การที่จะให้รัฐธรรมนูญมีผลในทางปฏิบัติที่สมบูรณ์ต้องอาศัยกระบวนการอื่นๆ เช่น ได้คนที่ดี มีคุณวุฒิ มีประสบการณ์ ซื่อสัตย์สุจริตเข้ามาช่วยกันบริหารดูแลบ้านเมือง การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติข้อห้ามสำหรับสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาไว้ดังกล่าว ก็เพื่อให้ตระหนักถึงขอบข่ายอำนาจหน้าที่ที่ควรจะต้องรับผิดชอบ ไม่ละเมิดต่อข้อห้ามหรือข้อบังคับที่กำหนดไว้ ในรัฐธรรมนูญ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น