นาฬิกา

เซี่ยมซีหลวงพ่อพระชีว์

สรุปตลาดหุ้น

ตารางฟุตบอล

สร้างรายได้เพียงง่ายๆ

Subscribe in a reader Google AdSense คือบริการจาก Google ที่ให้ผู้ที่มีเว็บไซต์ สามารถหารายได้โดยการนำ Code ที่ได้จากการสมัครเป็นสมาชิกของ Google มาใส่ไว้ที่เว็บไซต์ของตนเอง ซึ่ง Code นั้นจะเป็น โฆษณาที่ส่งมาจาก Google โดยโฆษณานั้น ๆ จะเป็นโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ ตัวอย่างเช่นถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว โฆษณาที่ส่งมาจาก Google ก็อาจเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ โรงแรม,สายการบิน เป็นต้น

ข้อความ

ข้อความ

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้อตกลงเขตการค้าเสรี: ลดภาษี หรือ ลดอธิปไตยไทย


ข้อตกลงเขตการค้าเสรี: ลดภาษี หรือ ลดอธิปไตยไทย
1. บทนำ
      การนำประเทศไทยเข้าสู่การจัดระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ ตามแนวทางระบบทวิภาคีนิยม (Bilateralism) คนไทยถูกทำให้เชื่อ (Make believe) ด้วยวิธีการประชาสัมพันธ์ว่า การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ (Free Trade Agreement - FTA) คือกิจกรรม การทำมาค้าขาย การส่งออก และการลดหย่อนภาษีสินค้าแต่ละประเภทให้เท่ากับศูนย์    อันเป็นกิจกรรมของฝ่ายบริหารที่ได้อำนาจมาจากการเลือกตั้ง   สามารถตัดสินใจได้โดยลำพัง มิพักต้องมารับผิดชอบในทางการเมืองใด ๆ    รัฐมนตรีในรัฐบาลบางคน ไปไกลถึงขนาดที่ว่า การลงนามในสัญญาผูกพันในข้อตกลงเอฟทีเอ เป็นการอนุวัติการตามกรอบข้อตกลงขององค์การการค้าโลก หรือ ดับเบิลยูทีโอ (World Trade Organization - WTO)  จึงไม่จำเป็นต้องมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2524 มาตรา 224 อีกครั้ง ราวกับว่าข้อตกลงขององค์การการค้าโลก และข้อตกลงเอฟทีเอ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในแง่ องค์การการค้าโลกเป็นกรอบข้อตกลงหลัก และ เอฟทีเอ เป็นกรอบข้อตกลงที่อนุวัติการตามข้อตกลงองค์การการค้าโลก เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบข้อตกลงองค์การการค้าโลกไปแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาอีก รัฐบาลในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหารก็ชอบที่จะไปลงนาม นำประเทศเข้าผูกพันกับคู่เจรจาทางการค้ากับประเทศต่าง ๆ ในโลกได้โดยลำพัง  ทั้งยังได้สะท้อนข้อคิดเห็นดังกล่าวต่อสาธารณะอยู่บ่อยครั้งว่า “การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ เป็นเรื่องของรัฐบาลรัฐสภาไม่เกี่ยว”  ซึ่งผู้ที่สนใจติดตามปัญหานี้มาคงจะได้ยินได้ฟังอยู่เสมอ
ระบบวิธีคิดและทัศนะดังกล่าวข้างต้น  นับเป็นแนวคิดที่นำไปสู่การพังทลายของระบบนิติรัฐ (Legal state) ระบบตรวจสอบถ่วงดุลในการใช้อำนาจ(Balance of power) ระบบรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) และ ประชาธิปไตยแบบการมีส่วนร่วม (Participatory democracy) อีกทั้งแนวทางปฏิบัติตามหลักธรรมมาภิบาลที่ดี (Good governance) บทวิเคราะห์นี้จะชี้ให้ผู้อ่านได้ทราบว่า การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี ไม่ใช่เรื่องการขึ้นลงของภาษี หรือการค้า ๆ ขาย ๆ อย่างเดียว  หากแต่จุดหมายปลายทางของเรื่องทั้งหมดนั้นอยู่ที่ อำนาจอธิปไตยของรัฐ (Sovereignty of State) ซึ่งจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงตามมาจากการลงนามของรัฐบาล เพราะในอนาคตต่อไปประเทศไทยจะสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจ การเมืองบางด้านลง ในอนาคตจะมีข้อจำกัดอย่างมาก ในการบริหารยุทธ์ศาสตร์และนโยบาย ที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมและปัญหาของประเทศ สมควรที่สังคมไทยจะได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็น ลบล้างมายาคติทางกฎหมายต่าง ๆ ที่ผู้มีอำนาจและบริวารสาวกทางกฎหมาย ซึ่งพยายามตะแบง  เล่นโวหารที่นำไปสู่การบิดเบือนใด ๆ ต่อสังคมและ ชุมชนนิติศาสตร์ ที่มีความเป็น “ไท”  ทุกคนที่ได้ล่วงรู้ข้อความจริง
       บทวิเคราะห์จะพิจารณาถึงความเชื่อมต่อกัน (Engagement) ของกฎหมายกับระบบกลไกทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ   ภายใต้ร่มเงาของระบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-liberalism) และจะวิเคราะห์เข้าสู่รูปธรรมข้อผูกพันในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  ตามกรอบข้อตกลงฉบับต่าง ๆ ในประเด็นสำคัญ ๆ ที่ประเทศไทยจะเข้าไปมีส่วนร่วมเจรจาตกลง หรือที่เป็นข้อผูกพันไปแล้ว เพื่อนำไปสู่ประเด็นที่เชื่อมโยงไปยังกระบวนการใช้อำนาจรัฐ (Due process) ที่สัมพันธ์กับเจตจำนงของประชาชนในหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย และ อำนาจอธิปไตยของประเทศไทยที่ลดลง กล่าวคือ

ไม่มีความคิดเห็น: