4. บทสรุปและส่งท้าย
การทำเขตการค้าเสรีสุดท้ายของเรื่องทั้งหมด
คือ การกระทำของรัฐในทางเศรษฐกิจ
ที่ได้กระทำต่อ เอกราช และ อำนาจอธิปไตยของประชาชน ที่จะลดลง
หาได้จำกัดวนเวียนอย่างที่ประชาสัมพันธ์กันว่าเป็นเรื่องค้า ๆ ขาย ๆ หรือการลดภาษีให้เหลือ “ศูนย์เปอร์เซ็นต์” เท่านั้น ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทวิเคราะห์นี้จะช่วยให้ท่านผู้อ่านทราบความจริงบางด้านที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง จากรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ ๆ เกี่ยวข้องมาก่อน กระบวนการทำเขตการค้าเสรีที่กำลังเป็นแฟชั่นอยู่ในขณะนี้
คงถึงเวลาที่ทุกฝ่ายในบ้านเมืองจะได้มีโอกาสหันมาทบทวนตนเอง และใช้สติปัญญาไตร่ตรองกันให้ลึกซึ้ง
ตอบคำถามตัวเองให้ได้ว่า ระหว่างอธิปไตยของประเทศ กับผลประโยชน์ระยะสั้นของคนหยิบมือเดียวที่จะได้ประโยชน์จากการทำข้อตกลงเอฟทีเอ เราจะเลือกหนทางไหน
และสุดท้ายแนวทางทวิภาคีนิยมที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นำประเทศไทยไปสู่แนวทางนี้ ถูกต้องเหมาะสมดีแล้วจริงหรือ แน่นอนที่สุดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นมิใช่ วันนี้
พรุ่งนี้เท่านั้น แต่จะทอดเวลายาวนานมาก
เรากำลังขโมยหรือทำลายโอกาสของลูกหลานเราในอนาคต ให้ย่อยยับหมดโอกาสในทางเศรษฐกิจหรือไม่ มีทางเลือกอย่างอื่นที่ดีกว่านี้ได้ค้นหากันหรือยังอาทิการเดินตามแนวทางพหุภาคีนิยม
(Multilateralism) ที่ยึดถือสืบกันมา
สุดท้ายจากจุดเปลี่ยนนี้ไป..หากหลายคนยังคงมี “สติ” และยังคงมีความรับผิดชอบอยู่บ้างต่อบ้านเมืองและลูกหลานไทยในอนาคต ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่ายังไม่สายเกินไปที่สังคมไทยจะต้องตั้งหลักพิจารณาใคร่ครวญ เรื่องนี้กันใหม่ โดยเน้นการใช้ความรู้
กระบวนการใช้ความรู้ และ ใช้เหตุผลมากกว่านี้ หากเพื่อนร่วมชาติทุกคนเห็นชอบด้วยก็จะได้ช่วยกันเรียกร้องในหนทางที่ควรจะเป็น หาไม่แล้ว การสูญเสียเอกราช อธิปไตยของชาติ และ
ประชาชนจะเกิดขึ้นได้โดยเวลาเพียงข้ามคืน จากคนหยิบมือเดียว เพื่อผลประโยชน์ของคนเหล่านั้น
เสรีชนอย่างท่านจะยอมได้หรือ
เรื่อง
การออกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
เรื่อง
การออกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ.2548
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2548 แล้วนั้น
รัฐบาลขอชี้แจงดังต่อไปนี้
1.การออกพระราชกำหนดดังกล่าวก็เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีเครื่องมือทางกฎหมายที่จำเป็น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
และเพียงพอต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์พิเศษของประเทศที่เรียกว่า
"สถานการณ์ฉุกเฉิน" ซึ่งแม้ขณะนี้จะมุ่งไปที่การป้องกันและแก้ไขปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหลัก แต่การออกกฎหมายดังกล่าวก็ได้เผื่อไว้ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างอื่นได้ด้วย เช่น การจลาจล ภัยพิบัติสาธารณะ การก่อการร้าย
เป็นต้น
2.การมีกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเรื่องจำเป็นดังที่ปรากฏในนานาประเทศ โดยไม่ถือว่าขัดต่อหลักนิติธรรม
หลักสิทธิมนุษยชน และหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ตราบที่มีการใช้เพียงเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงระดับความรุนแรงของภัยหรือสถานการณ์ และมาตรการที่นำมาใช้ต้องไม่รุนแรงหรือหนักไปกว่าความจำเป็น ทั้งนี้จะต้องชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบกับความมั่นคงของรัฐ
ความปลอดภัยสาธารณะ และสิทธิเสรีภาพของสุจริตชนที่ถูกคุกคามด้วย
อันที่จริงพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช
2457 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ.2495 ก็ใช้บังคับอยู่แล้ว ขณะนี้ก็ยังประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางพื้นที่อื่นของประเทศ ส่วนพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ.2495 ก็เคยนำมาใช้ในสถานการณ์จลาจลอื่น
เช่น สมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์
คราวเกิดจลาจลในท้องที่พลับพลาชัย กรุงเทพมหานคร
และในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
คราวเกิดจลาจลเผาโรงงานแทนทาลั่มในจังหวัดภูเก็ต เมื่อบัดนี้มีการตั้งข้อรังเกียจและระแวงการนำกฎอัยการศึกมาใช้ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จนถึงกับมีเสียงเรียกร้องให้ยกเลิกเสีย
ฝ่ายความมั่นคงก็ไม่ขัดข้อง เพราะกฎอัยการศึกเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเหนือพลเรือน จนอาจดูว่าสถานการณ์ร้ายแรงใกล้เคียงกับการสู้รบ
แต่ฝ่ายความมั่นคงก็เรียกร้องว่าจำเป็นต้องมีกฎหมายอื่นที่รัดกุมกว่าออกมาใช้แทนที่
มิฉะนั้นจะเกิดช่องว่างในการใช้อำนาจรัฐ ส่วนกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีอยู่ก็ใช้มาตั้งแต่
พ.ศ.2495 มาตรการบางอย่างจึงไม่เหมาะสมกับภาวการณ์ปัจจุบัน ในขณะที่มีกฎหมายอื่นที่เพิ่งตราขึ้นใหม่ เช่น
พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 ซึ่งน่าจะนำบางส่วนมาใช้โดยอนุโลมได้ แต่การมีกฎหมายหลายฉบับโดยเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายและต่างสายการบังคับบัญชา
เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
ฝ่ายตำรวจ ฝ่ายพลเรือนต่างกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งปกติจะแยกใช้กฎหมายเหล่านั้นในสถานการณ์ที่ต่างกัน เมื่อนำมาประกอบกำลังและใช้ร่วมกันย่อมยากแก่การบูรณาการในสถานการณ์ซึ่งต้องการความรวดเร็ว เฉียบขาด เพื่อแก้ไขความเดือดร้อน
รักษาความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชน และฟื้นฟูบูรณะให้ความสงบเรียบร้อยกลับคืนมาโดยเร็ว จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายพิเศษเพื่อบูรณาการการใช้อำนาจป้องกันและแก้ไขปัญหาเป็นการเฉพาะ
รองรับสถานการณ์ที่จำเป็น ฉุกเฉิน เร่งด่วน
เช่น เหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นเกือบทั่วทั้งจังหวัดยะลา
เมื่อคืนวันที่ 14 กรกฎาคม
2548 และจากคำให้การของผู้ต้องหา พยานบุคคลอื่นๆ ตลอดจนรายงานข่าวกรอง นับว่าเป็นสัญญาณที่ไม่น่าวางใจ จำเป็นต้องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจตามกฎหมายเข้าป้องปราม
ควบคุมสถานการณ์และระงับยับยั้งพฤติการณ์บางอย่างได้ทันท่วงที
การใช้อำนาจเช่นนี้เป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอนุญาตให้ทำได้ และแม้แต่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งไทยเป็นภาคี ก็ให้ทำได้ภายใต้เงื่อนไขบางประการ
3.รัฐบาลขอเรียนว่า
พระราชกำหนดที่ออกมาในครั้งนี้เป็นกฎหมายพิเศษ เป็นข้อยกเว้นของสถานการณ์ปกติ หวังผลทั้งการป้องปรามและปราบปราม จึงย่อมจำกัดสิทธิเสรีภาพและความสะดวกสบายบ้างเป็นธรรมดา แต่รัฐบาลขอยืนยันว่าจะใช้กฎหมายฉบับนี้เท่าที่จำเป็น ภายในเขตพื้นที่และระยะเวลาที่จำกัด
ทั้งจะไม่นำมาตรการรุนแรงที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของสุจริตชน โดยเฉพาะสื่อมวลชนมาใช้โดยไม่จำเป็น
เกินสมควรแก่เหตุ และปราศจากการควบคุม
ขอให้ประชาชนทั้งหลายให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
รัฐบาลขอยืนยันด้วยว่ายังยึดถือแนวทางสันติวิธี
ความสมานฉันท์ และปรารถนาจะเห็นความไม่สงบเรียบร้อยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยุติลงโดยเร็วที่สุด บนพื้นฐานแห่งการเข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แม้กฎหมายดังกล่าวจะให้อำนาจไว้มาก
แต่ก็ใช่ว่าจะนำมาใช้ทุกมาตรการ เพราะยังต้องผ่านการกลั่นกรองเสนอแนะของคณะกรรมการ ซึ่งมีปลัดกระทรวงฝ่ายความมั่นคง ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายร่วมเป็นกรรมการ
ทั้งได้วางมาตรการให้กระบวนการทุกอย่างตลอดจนการลงโทษผู้ฝ่าฝืน
ยังต้องผ่านการพิจารณาวินิจฉัยของศาลตามกระบวนการยุติธรรมปกติอีกด้วย
สำหรับข้อเสนอของบางฝ่ายที่ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบดูแลการล่วงละเมิดเสรีภาพในช่วงเวลาดังกล่าว ก็นับว่ามีเหตุผลรับฟังได้ซึ่งจะได้ดำเนินการควบคู่กันต่อไป
เพราะสาเหตุหนึ่งของการออกกฎหมายในครั้งนี้ ก็เพื่อว่าจะได้ไม่ต้องนำกฎอัยการศึกมาใช้
ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดที่รัฐบาลจะนำมาตรการอันรุนแรงกว่ากฎอัยการศึกมาใช้ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพอีก
รัฐบาลขอรับรองว่าผู้สุจริตจะไม่ได้รับผลกระทบเป็นอันขาด
คงมีแต่ผู้ไม่ประสงค์ดี ไม่เห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของชาติบ้านเมือง ไม่ยอมรับรู้บรรยากาศสมานฉันท์และความวิตกห่วงใยของเพื่อนร่วมชาติ
ตลอดจนผู้บิดเบือนอ้างสิทธิเสรีภาพมาทำลายล้างสิทธิเสรีภาพของผู้บริสุทธิ์ที่รักความสงบ หรือผู้ก่ออาชญากรรมคุกคามขู่เข็ญฆ่ารายวันในพื้นที่เท่านั้น ที่จะได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายนี้
จึงขอชี้แจงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
สำนักนายกรัฐมนตรี
วันที่ 19 กรกฎาคม 2548
๑. นโยบายการเมือง
การปกครอง และบริหารราชการ
๑.๑ การปฏิรูปทางการเมือง
๑.๑.๑ เร่งรัดการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญกฏหมายอื่นๆ
กฏ ข้อบังคับ และการดำเนินการ
อื่นใดเพื่ออนุวัติ การให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือเพื่อให้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
มีความสมบูรณ์และบังเกิดผลในทางปฏิบัติ โดยจะจัดทำแผนปฏิบัติการกำหนดเค้าโครงการดำเนินการ ระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติให้แล้วเสร็จ
และหน่วยงานผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน ทั้งจะเร่งดำเนินการออกกฎหมาย
กฏ ข้อบังคับต่าง ๆ ในส่วนของคณะรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
อนึ่ง
รัฐบาลถือว่ากฏหมายตามข้อนี้เป็น กฏหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา
๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญ
๑.๑.๒ สนับสนุนกิจการขององค์กรทั้งหลายที่จัดตั้งขึ้นใหม่หรืออยู่ระหว่างเตรียมการจะจัดตั้งขึ้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในด้านอัตรากำลัง
งบประมาณ และการอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจในฐานะองค์กรควบคุมหรือตรวจสอบทางการเมือง การปกครองและการ บริหารราชการ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการบริหารทรัพยากรสื่อสารของชาติ
ตามรัฐธรรมนูญและกฏหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพ
๑.๑.๓ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของนักวิชาการ และสื่อสารมวลชนทั้งของรัฐและเอกชนในการให้การ
ศึกษา อบรมค้นคว้าวิจัยหรือปฏิบัติหน้าที่ของตน รวมทั้งส่งเสริมให้มีบทบาทในการปลูกฝังความรู้
ความ เข้าใจ ในรูปแบบ วิธีการ และเนื้อหาสาระของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข เพื่อให้กระบวนการปฏิรูปทางการเมืองดำเนินไปในแนวทางที่เป็นรูปธรรมและสมบูรณ์ ยิ่งขึ้น
๑.๑.๔ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้
ความเข้าใจในสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ ทั้งจะกำหนดมาตรการในการตรวจสอบ
ตลอดจนซักซ้อมความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมิ ให้มีการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพดังกล่าว โดยมีสถาบันการศึกษาและสื่อสารมวลชนทั้งภาครัฐและภาคเอก
ชนเข้ามามีบทบาทด้วย
๑.๑.๕ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง ในเรื่องสำคัญ
การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจ รัฐ โดยวิธีการประชุมปรึกษาหารือกับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือชุมชน
การทำประชาพิจารณ์ หรือประชา
มติแล้วแต่กรณี โดยให้สถาบันทางวิชาการ สื่อสารมวลชน องค์กรอาชีพภาคเอกชน และองค์กรเอกชน
สาธารณประโยชน์เข้ามามีบทบาทในการร่วมดำเนินการ
๑.๑.๖ จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติด้วยกระบวนการคัดเลือกที่ปลอดจากการแทรกแซงทางการ เมืองเพื่อร่วมกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ จัดทำ แผนพัฒนาการเมืองและมาตรฐานทางคุณธรรม
จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ
และ พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติหน้าที่
แล้วประกาศใช้ต่อไป
๑.๒ การปฏิรูประบบบริหารราชการ
๑.๒.๑ปรับปรุงและเร่งรัดการจัดโครงสร้างและระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญ เพื่อให้สามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิ ภาพ รวดเร็ว และเสมอภาค
๑.๒.๒ ปรับปรุงระบบงานภาคราชการและรัฐวิสาหกิจให้เป็นระบบเปิดโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นปราศจากการเลือกปฏิบัติ
และเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมโดยการจัดทำ แผนพัฒนาระบบราชการและมาตรฐานคุณภาพงานราชการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
๑.๒.๓ ปรับปรุงคุณภาพข้าราชการในการทำงานโดยเน้นผลงาน
การมีคุณภาพ ความซื่อสัตย์สุจริต
การมีจิตสำนึกในการให้บริการประชาชน และมีความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ทำงานคุ้มค่ากับผลตอบแทน โดยจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ
และการส่งเสริมขวัญกำลังใจข้าราชการ
๑.๒.๔ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในวงราชการและวงการเมือง ด้วยการเร่งออกกฏหมายจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและกฏหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ในระหว่างนี้ จะพัฒนาระบบบริหารราชการของหน่วยงานทั้งหลายที่มีอยู่แล้วให้บุคลากรมีความพร้อมและทำงาน ประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฏหมายตามข้อนี้เป็นกฏหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา ๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญ
๑.๒.๕เร่งรัดการออกกฏหมายเพื่อกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดแผนและขั้นตอนดำเนินการเป็นการด่วน
ระบุอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ระหว่างราชการส่วนกลางกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันอย่างชัดเจน เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจและบทบาทเพิ่มขึ้น
รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนการ แบ่งสรรภาษีอากรให้แก่ท้องถิ่น
นอกจากนั้น จะดำเนินการปรับปรุงรูปแบบขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นให้มีเพียง ๔ รูปแบบ คือ
(๑)องค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๒)เทศบาล
(๓)องค์การบริหารส่วนตำบลและ
(๔) การปกครองรูปแบบพิเศษ
(๒)เทศบาล
(๓)องค์การบริหารส่วนตำบลและ
(๔) การปกครองรูปแบบพิเศษ
ทั้งนี้
สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ส่วนผู้บริหารท้องถิ่นหรือ คณะผู้บริหารท้องถิ่นอาจจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือโดยความเห็นชอบของสภา ท้องถิ่นก็ได้
ขึ้นอยู่กับรูปแบบ และระยะเวลาที่เหมาะสม
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฏหมายตามข้อนี้เป็นกฏหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา ๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญ
๑.๒.๖ ลดบทบาทการดำเนินกิจกรรมต่าง
ๆ ของรัฐพร้อมกับสนับสนุนให้ภาคเอกชนรับไปดำเนิน
การร่วมกับรัฐ หรือแทนรัฐอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม
โดยมีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวย บริการแก่ประชาชน
และลดภาระการลงทุนของภาครัฐเป็นสำคัญ รวมทั้งจะไม่ดำเนินการใด ๆ ที่มีผลให้ เกิดการผูกขาด ทั้งนี้ จะอาศัยมาตรการทางกฏหมายเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ารับช่วงงานบริการประชาชน ได้คล่องตัวมากขึ้น
ส่วนการคุ้มครองผู้ใช้บริการให้ได้รับบริการที่เพียงพอ มีคุณภาพ ในราคาที่เป็นธรรม ก็จะดำเนินการไปพร้อมกันโดยจัดทำแผนแม่บทขึ้นเป็นกรอบกำกับการดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน อย่างเป็นระบบ
เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาและนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ
๑.๒.๗ เร่งรัดให้มีการออกกฏหมายใหม่หรือปรับปรุงแก้ไขกฏหมายที่มีอยู่แล้วเพื่อเพิ่มมาตรการ ในการคุ้มครองเด็กเยาวชนและสตรี การสงเคราะห์คนชรา
ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้ด้อย
โอกาส การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภค การขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคม และในการ แข่งขันทางการค้าและการลงทุน การปฏิรูปหรือการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
โดยดำเนินการในลักษณะของการปฏิรูป กฏหมาย
อย่างเป็นระบบ อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฏหมายตามข้อนี้กฏหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา
๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญ
esW�A o�$h�o-hansi-font-family:"Times New Roman";color:black'>ยา และผลิตภัณฑ์เคมี ไปใช้เพื่อประกอบการพิจารณารับขึ้นทะเบียนยา หรือ
ผลิตภัณฑ์เคมี อันเป็นการยอมรับโดยปริยายว่าบริษัทต้นตำรับเป็นเจ้าของข้อมูลผลการทดสอบ ข้อห้ามการใช้ข้อมูลทดสอบที่ว่านี้จะมีไปถึง
พนักงานเจ้าหน้าที่ ๆ มีหน้าที่ในการขึ้นทะเบียนยา
หรือผลิตภัณฑ์เคมี บริษัทหรือบุคคลอื่น ในการใช้ข้อมูลผลการทดสอบดังกล่าว
อันเป็นการจำกัดสิทธิของพนักงานเจ้าหน้าที่ และบุคคล ที่จะอาศัยผลการทดสอบดังกล่าวมาใช้กับยา
หรือผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน ผลอันนี้ทำให้บริษัทที่ได้สิทธิผูกขาดในข้อมูลการทดสอบดังกล่าว และยังห้ามมิให้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน
หรือคล้ายคลึงกันเป็นเวลา 5 ปีนับแต่วันขึ้นทะเบียนของบริษัทที่เป็นเจ้าของข้อมูลการทดสอบ และยังห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับขึ้นทะเบียน
ยา หรือผลิตภัณฑ์แล้วแต่กรณี โดยอาศัยผลข้อมูลจากบริษัทเจ้าของข้อมูล
เพื่อนำยาหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ออกจำหน่ายในท้องตลาดอีกด้วย
การทำข้อตกลงเอฟทีเอโดยเฉพาะกับประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะต้องถูกบังคับให้ยอมรับในข้อตกลงเพื่อการคุ้มครองข้อมูลการทดสอบทางยา
หรือ ผลิตภัณฑ์ทางเคมี
ก็เพื่อปิดประตูบริษัทยาในประเทศที่แม้จะได้วิจัยยาใหม่ได้สำเร็จ แต่ก็จะต้องมาติดขัดกับการใช้ข้อมูลการทดสอบ (Test
data) ที่ได้รับความคุ้มกันและผูกขาด
การจะนำยาที่ค้นคิดไปขึ้นทะเบียนก็ต้องทำการทดลองเอาเอง ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนานมาจนกว่าจะได้ข้อมูลผลทดสอบทางยา
จึงเป็นการปิดประตูตายของผู้ผลิตยาภายในประเทศ
ยิ่งไปกว่านั้นมาตรการให้ความคุ้มครองข้อมูลการทดสอบตามข้อตกลงเอฟทีเอจากสหรัฐอเมริกายังจะเป็นการ ปิดโอกาส ให้การบังคับใช้สิทธิ (Compulsory licence) อันเป็นมาตรการเดียวของรัฐที่จะใช้อำนาจภายใต้ประโยชน์สาธารณะ (Public
interested) เพื่อคัดคานกับการผูกขาดยาหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคุ้มครองไปแล้วจากระบบสิทธิบัตร
ให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม สามารถทำได้ต่อไป
เพราะผลจากการให้สิทธิผูกขาดในข้อมูลการทดสอบ
ซึ่งหากรัฐจะบังคับใช้สิทธิผลิตยา ก็ต้องไปติดขัดในการขึ้นทะเบียนตำรับยาอันเนื่องจาก ข้อห้ามการใช้ข้อมูลผลการทดสอบอยู่ดี
ข้อจำกัดหรือข้อห้ามนี้ครอบคลุมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยตรง
รวมถึงบริษัทหรือบุคคลที่จะผลิตยาจากการบังคับใช้สิทธิดังกล่าวนี้ด้วย
ทำให้หลักเกณฑ์การบังคับใช้สิทธิเป็นหมัน และไม่เกิดผลในทางปฏิบัติในทางเป็นจริง
(4) ในกรอบข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ภายใต้ข้อตกลงเอฟทีเอยังเข้าไปจำกัดอำนาจรัฐอีกหลายเรื่องตามมา
เช่น การจำกัดการบังคับใช้สิทธิ
(Compulsory licence) การห้ามมิให้เพิกถอนสิทธิบัตร
(Revocation) และ การห้ามนำเข้าซ้อน (Parallel
Import) ซึ่งในแต่ละมาตรการดังกล่าวล้วนแล้วแต่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อป้องกันปัญหาการผูกขาด ทำให้ยามีราคาแพง
เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เกิดความเดือดร้อนมาสู่สังคม เป็นข้อจำกัดอำนาจรัฐที่จะถูกนำมาบังคับใช้ภายใต้กรอบที่คับแคบและจำกัด
กล่าวคือ จะให้บังคับการใช้สิทธิต่อเมื่อ
เพื่อป้องกันการกระทำที่นำไปสู่การจำกัดการแข่งขัน ซึ่งต้องถูกตัดสินตามกฎหมายป้องกันการแข่งขันของประเทศเจ้าของสิทธิ
(สหรัฐ) และ ใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ที่ไม่ใช่การค้าเชิงพาณิชย์
หรือในกรณีฉุกเฉินของชาติ ที่มีจำเป็นเร่งด่วนโดยจะต้องให้เจ้าของสิทธิสามารถโต้แย้งคัดค้านต่อศาลได้
สำหรับกรณีการนำเข้าซ้อนเพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่จะซื้อยาประเภทและชนิดเดียวกันในราคาที่ถูกลง
ก็ไม่สามารถทำได้เพราะเป็นข้อห้ามที่ไม่สามารถทำได้เช่นกัน
(5) ในกรอบข้อตกลงเอฟทีเอของสหรัฐในเรื่องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
(Copyrights) ยังบังคับให้ประเทศคู่เจรจายอมรับและเข้าเป็นภาคีในข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิตอล การใช้อินเตอร์เน็ท สัญญาณดาวเทียมในอีก 3 ข้อตกลงคือ WIPO Copyright Treaty, 1966, WIPO
Performances and Phonograms Treaty, 1966 และ Convention
Relating to the Distribution of Program-Carrying Signals Transmitted by
Satellite, 1974 โดยขยายอายุความคุ้มครองในลิขสิทธิ์เป็นเวลา
70 ปีนับจากวันที่เจ้าของผู้สร้างสรรค์งานถึงแก่ความตาย
บังคับให้ประเทศคู่เจรจาต้องป้องกันการถอดรหัสสัญญาณดาวเทียมจากอุปกรณ์ที่ใช้ถอดรหัส
การให้ความคุ้มครองจากการทำซ้ำชั่วคราว (Temporary
reproduction) ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์
การบังคับให้ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ท (Internet
service providers) ต้องรับผิดชอบตามกฎหมายหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านเครือข่ายของตน และยอมให้เจ้าของลิขสิทธิ์ตรวจสอบการใช้และการทำซ้ำจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ท เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการดำเนินคดีในศาล
และที่ไปไกลกว่านั้นคือ การกำหนดให้ความผิดจากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเป็น
อาญาแผ่นดิน ที่ทำให้เจ้าพนักงานสอบสวนสามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ทันที
โดยไม่จำต้องมีผู้เสียหายร้องทุกข์กล่าวโทษก่อน
อันจะเป็นการนำและใช้ทรัพยากรของประเทศเพื่อคุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของเอกชน
และขนาดมีความพยายามจากรัฐมนตรีไทยบางคนที่ จะให้กำหนดความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาเข้าไปเป็นลักษณะความผิด เพิ่มเติมในความผิดมูลฐานตาม
กฎหมายการฟอกเงินอีกด้วย การบริหารยุทธ์ศาสตร์นโยบายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
(ไม่แน่ใจว่าจะมีหรือไม่) นับได้ว่าไปไกลเกินกว่าที่จะได้ล่วงรู้ถึงอุปสรรค์
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต ว่าจะกว้างใหญ่ไพศาลลุ่มลึก ขนาดไหนหากจะต้องปฏิบัติตามกรอบข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาตามที่ สหรัฐอเมริกาเสนอและยังนำไปเป็นโทษอาญาแผ่นดิน
และเป็นความผิดมูลฐานตาม กฎหมายป้องกันการฟอกเงิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น