นาฬิกา

เซี่ยมซีหลวงพ่อพระชีว์

สรุปตลาดหุ้น

ตารางฟุตบอล

สร้างรายได้เพียงง่ายๆ

Subscribe in a reader Google AdSense คือบริการจาก Google ที่ให้ผู้ที่มีเว็บไซต์ สามารถหารายได้โดยการนำ Code ที่ได้จากการสมัครเป็นสมาชิกของ Google มาใส่ไว้ที่เว็บไซต์ของตนเอง ซึ่ง Code นั้นจะเป็น โฆษณาที่ส่งมาจาก Google โดยโฆษณานั้น ๆ จะเป็นโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ ตัวอย่างเช่นถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว โฆษณาที่ส่งมาจาก Google ก็อาจเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ โรงแรม,สายการบิน เป็นต้น

ข้อความ

ข้อความ

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

การปกตามพุทธเจ้า


การปกครองตามแบบพระพุทธเจ้า
                        ขอยกกรณีศึกษาจากพระสูตรกูฏทันตสูตร นี้สะท้อนให้เห็นการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในยุคก่อนพุทธกาล และในยุคพุทธกาลซึ่งเมื่อนำมาฉายภาพให้เห็นเปรียบเทียบกับการบริหารประเทศยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่พรรคการเมืองใหม่ คือ ไทยรักไทยก้าวขึ้นเป็นรัฐบาล และพรั่งพรูด้วยความคิดใหม่ ตามนโยบาย คิดใหม่ ทำใหม่ น่าเชื่อที่หลายเรื่องมีแนวที่สอดคล้องอย่างยิ่งกับแนวคิดในสมัยพุทธกาล
                        การมุ่งปฏิรูปประเทศไทย  ๖ ด้าน คือด้านการเมืองด้านเศรษฐกิจ ด้านการต่างประเทศ ด้านการศึกษา  สาธารณสุข และด้านสังคม การใช้เศรษฐกิจนำการเมือง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีรูปธรรมเห็นชัดเจนจากนโยบายที่ออกมาที่เรียกว่านโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจแบบรากหญ้า
                        พระสูตร กูฏทันตสูตรนี้ ถือว่าเป็นการปฏิรูปแนวความคิดในการบริหารบ้านเมืองที่หล้าหาญที่สุดในยุคนั้น เท่ากับว่าเป็นการลบล้างตำรา ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณีเดิมซึ่งกำหนดโดยพราหมณ์ปุโรหิต ซึ่งถือว่าเป็นราชบัณฑิต ผู้รอบรู้นักวิชาการที่ปรึกษาผู้นำของประเทศที่มีบทบาสูงสุด
                        พราหมณ์ปุโรหิตในเรื่องนี้คืออดีตชาติของพระผู้มีพระภาคที่บังเกิดในสมัยของพระเจ้ามหาวิชิตราช ได้วางกุศลบายเพื่อปราบโจรผู้ร้ายเพื่อสร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้กับพสกนิกรโดยพลิกปัญหาและอุปสรรคให้กลายเป็นโอกาสแทนที่จะส่งเสริมให้คนทำบาปตามประเพณีเดิมของการทำพิธีบูชามหายัญ ซึ่งเป็นความเชื่อที่งมงายว่าจะต้องมีการฆ่าสัตว์บูชายัญเพื่อความเป็นสิริมงคล
                        พราหมณ์ปุโรหิตของพรเจ้ามหาวิชิตราชกลับพลิกพิธีอันโหดเหี้ยมงมงายให้กลายเป็นการพัฒนาบ้านเมืองและเศรษฐกิจแบบยั่งยืน นั่นคือ ยุทธศาสตร์ ๖ ขั้นตอนด้วยกัน คือ
            ยุทธศาสตร์ที่หนึ่ง   การพัฒนาบ้านเมือง ด้วยการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
            ยุทธศาสตร์ที่สอง   การพัฒนาระบบบริหารราชการแบบใหม่
            ยุทธศาสตร์ที่สาม   การพัฒนาผู้นำ
            ยุทธศาสตร์ที่สี่       การพัฒนาระดับจิตใจของผู้นำ
            ยุทธศาสตร์ที่ห้า     พัฒนาจิตใจประชาชนด้วยการตั้งมาตรฐานคนดี
            ยุทธศาสตร์ที่หก    การพัฒนาเศรษฐกิจคู่กับจิตใจ
                        การบริหารประเทศในชมพูทวีป
                        ในยุคสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชมพูทวีปยังมิได้รวมกันเป็นประเทศอินเดียแบบในปัจจุบัน แต่ละดินแดนแต่ละแคว้นแต่ละรัฐล้วนเป็นอิสระจากกัน มีเจ้าผู้ครองนครต่างคนต่างเมืองต่างอยู่แต่ติดต่อถึงกัน ต่างฝ่ายต่างมีประมุขมีเสนาบดี มีอำมาตย์ มีกองทัพ ระบบการบริหาร มีดินแดน มีประชาชนของตนเอง
                        คราใดที่อาณาจักรใดมีอำนาจ ก็จะยกกองทัพเข้ารุกรานผู้อื่น เพื่อยึดดินแดนของรัฐอื่น ยึดสมบัติ ยึดประชาชนให้มาอยู่ในปกครองของตนเอง บ้างก็ให้อยู่ในฐานะประเทศราชเป็นเองขึ้น ต้องส่งบรรณาการเพื่อเป็นการยอมรับอำนาจ
                        การปกครองบ้านเมืองจึงอยู่ในระบบสิทธิ์ขาดอำนาจสูงสุดอยู่ที่ประมุขของประเทศ ชื่อของประเทศหรือเจ้าผู้ครองนคร จึงเรียกว่า พระราชาบ้างกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครบ้างถ้าเป็นอาณาจักรใหญ่ที่มีอำนาจมากมีดินแดนมากก็เรียกว่ามหาราชบ้าง จักรพรรดิบ้าง
                        รูปแบบและโครงสร้างกาปกครองและบริหารแผ่นดินจึงเป็นรูปแบบง่ายๆ  ที่เราเห็นภาพจากการแสดงบ้าง จากภาพยนตร์บ้าง เป็นท้องพระโรงใหญ่ มีประมุขผู้ครองนครนั่งบนบัลลังก์มีเสนาบดี อำมาตย์ขุนทหาร ยืนเข้าเฝ้า แบ่งเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายทัพนักรบ และฝ่ายขุนนางเสนาบดีที่ปรึกษาเป็นการบริหารแบบใช้ที่ประชุมเป็นที่รับเรื่องราวและตัดสินไปเลยทีเดียว
                        ซึ่งก็นับว่าเป็นการรวบรัด เด็ดขาด ตั้งแต่รับรายงานบัญชาการสั่งงานติดตามงาน และให้คุณให้โทษโดยฉับพลัน
                        รูปแบบโครงสร้างก็จะแบ่งง่ายๆ เป็นฝ่ายกองทัพและฝ่ายอำมาตย์ กองทัพก็มีแม่ทัพนายกอง ทำหน้าที่ปกป้องดูแลรักษาประเทศภายนอกฝ่ายอำมาตย์ เสนาบดี ก็จะทำหน้าที่ถวายนโยบาย และรับไปดำเนินการบริหารงานบ้านเมืองภายใน โดยมีฝ่ายพราหมณ์เป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการและพิธีกรรม
            การปกครองที่มีประสิทธิภาพ
                        ได้แก่การปกครองที่ใช้หลักในการปกครองตามแบบของพระพุทธเจ้า ตามหลักอปริหานิยธรรม ๗ ประการ ซึ่งถือว่าเป็นหลักในการบริหารบ้านเมือง
                        อปริหานิยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความเจริญฝ่ายเดียว มีความเสื่อมมี ๒ ประเภท คือ ราชอปริหานิยธรรม และภิกขุอปริหานิยธรรม คือธรรมในการปกครองบ้านเมืองและธรรมในการปกครองสงฆ์
                        บ้านเมืองใดที่บริหารประเทศโดยที่ประมุขยังรักษาธรรมทั้ง ๗ ประการของหมู่คณะนั้นไว้ได้อย่างเคร่งครัด แสดงถึงความสามัคคีมีวินัยในการบริหารบ้างเมืองอย่างเข้มแข็งมีวามเป็นอั้นหนึ่งอันเดียวกัน มีคุณธรรม รักษาประเพณีค่านิยมอย่างมั่นคงเหนียวแน่น ใครจะมุ่งร้ายทำลายย่อมทำได้ยาก ใครคิดจะทำสงครามด้วยก็ต้องคิดให้หนัก
                        ถือเป็นหลักประศาสนศาสตร์ของการบริหารบ้านเมืองในยุคนั้น ซึ่งมีทั้งหมด ๗ ประการด้วยกันคือ
                        ๑.  การหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันมากครั้ง
                        ๒. การพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ
                        ๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ถือมั่นในประเพณีที่สืบต่อกันมานาน
                        ๔. ยังสักการะ เคารพนับถือ บูชาผู้มีพระชนมายุมากและสำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งที่ควรรับฟัง
                        ๕. ไม่ฉุดคร่าขืนใจกุลสตรีหรือกุลกุมารีให้อยู่ร่วมด้วย
                        ๖. ยังสักการะ เคารพนับถือ บูชาเจดีย์ทั้งในเมืองและไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้ เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป
                        ๗. ยังจัดการรักษาคุ้มครอง ป้องกันพระอรหันต์ทั้งหลายโดยชอบธรรม ด้วยตั้งใจว่า ทำอย่างไรพระอรหันต์ที่ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้นของเราและท่านที่มาแล้วพึงอยู่อย่างผาสุก
            อธิปเตยยะ ๓
              อัตตาธิปเตยยะ
            ๒ โลกาธิปเตยยะ
              ธัมมาธิปเตยยะ
อธิปเตยยะ คือ ความเป็นใหญ่ ความต้องการความเป็นใหญ่ ความยิ่งใหญ่ ในที่นี้จำแนกได้ 3 ประการคือ
              อัตตาธิปเตยยะ คือความมีตนเป็นใหญ่ จะทำอะไรๆ ก็ปรารภตนเองเป็นใหญ่มุ่งให้เหมาะสมตัวเองเป็นใหญ่สมกันฐานะตนเอง ปรารภตนเป็นที่ตั้ง เช่น ถ้าตนเป็นใหญ่ก็ทำด้วยมุ่งให้เหมาะสมกับภาวะของตนเอง ทำด้วยมุ่งผลอันจะได้แก่ตน ทำด้วยความสะดวกแห่งตน
            ๒ โลกาธิปเตยยะ ความมีโลกเป็นใหญ่ ได้แก่ การจะทำอะไรทุกอย่างต้องปรารภโลกเป็นที่ตั้ง เช่น คนที่ละเว้นความชั่ว เพราะกลัวคนอื่นเขานินทาตำหนิทำความดี เพราะต้องการให้เขายกย่องสรรเสริญ ทำตามความนิยมของชาวโลกบางทีเรียกว่า ประชาธิปไตย คือการถือเอาความคิดเห็นของคนส่วนมากเป็นประมาณ
            ๓ ธัมมาธิปเตยยะ ความมีธรรมเป็นใหญ่ ได้แก่ การจะทำอะไรทุกอย่างต้องปรารภธรรมเป็นที่ตั้งทำด้วยความเมตตากรุณา เสียสละ มุ่งให้เกิดประโยชน์แก่คนอื่น แม้ใครจะไม่ยกย่องสรรเสริญ ก็พร้อมที่จะทำ เรียกว่าทำดีเพราะเห็นว่าดี ละชั่วเพราะเห็นว่าชั่ว
            ถ้าตามหลักการบริหารในปัจจุบันก็ได้แก่ หลักการบริหารที่มีประสิทธิภาพ (Edgar L Morphet )
การบริหารที่มีผู้บริหารเพียงคนเดียวในองค์การ (Division Of Labor)
มีการกำหนดมาตรฐานทำงานที่ชัดเจน (Srandardization)
มีเอกภภาพในการบังคับบัญชา (Untity of command)
มีการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบให้แก่ผู้ร่วมงาน (Delegation of Authority and Responsibility)
มีการแบ่งฝ่ายงานและบุคลากรผู้รับผิดชอบให้แก่ผู้ร่วมงานให้เฉพาะเจาะจงขึ้น (Division of Labor)
มีการกำหนดมาตรฐานการทำงาน ที่ชัดเจน (Span of control)
มีการมอบหมายการควบคุมดูแลที่เหมาะสม (Stability)
เปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ในองค์การได้ (Flexibility)
สามารถทำให้คนในองค์การเกิดความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย (Security)
มีการยอมรับนโยบายส่วนบุคคลที่มีความสามารถ (Personnel Policy)
มีการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งส่วนบุคคลและองค์การ (Evaluation)
            ปัญญหาของผู้บริหารหรือปัญหาในการปกครอง
อาจจะพบในลักษณดังเช่นต่อไปนี้ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลในองค์การไม่เพียงแต่จะเป็นผลต่อบุคคลข้างเคียงแล้ว และชุมชนด้วยปัญหาเหล่านี้ได้แก่
ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างของบุคลในองค์การ (Typical Problem)
ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงานในองค์การ (The Problem of interelationship)
ปัญหาเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ทั้งด้านเอกสารและคำพูดของบุคคลในองค์การ (The Problem of conmmunication)
ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (The Problem of Change)
            สิ่งที่นักปกครองควรงดเว้น
ซึ่งได้แก่สิ่งที่นักปกครองควรจะละเว้นและไม่ควรจะให้มีขึ้นหรือเกิดขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้มันจะนำพามาซึ่งความไม่สงบร่มเย็นและอาจจะเกิดความล่มจมได้ คือ อคติ ตามหลักพุทธศาสนามีดังนี้
             หมายถึงแนวทางที่ไม่ควรปฏิบัติ เพราะเมื่อปฏิบัติไปย่อมทำให้หมู่คณะ กิจการ และความดีงามดำเนินต่อไปได้ยากหรือไปไม่รอด
            อคติ มี ๔ อย่าง คือ
            อคติ  แปลกันว่า  ความลำเอียง หมายถึง ความเอนเอียงเข้าข้าง ความไม่ยุติธรรมความไม่เป็นกลาง ความไม่เป็นหลัก
            อคติแปลอีกแบบหนึ่งว่า  การดำเนินไปในแนวทางที่ไม่สมควร ไม่ควรไป หรือ ไปไม่ได้ ๑ ฉันทาคติ    ลำเอียงเพราะรักชอบพอ
            ๒ โทสาคติ    ลำเอียงเพราะไม่ชอบ
              ภยาคติ      ลำเอียงเพราะกลัว
              โมหาคติ   ลำเอียงเพราะหลง
            ท่านว่า อคติเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือเป็นผู้นำหมู่คณะควรเว้น  ถ้าเว้นไม่ได้ ความเป็นผู้ใหญ่ ความเป็นหลัก ความยุติธรรมก็ไปไม่รอด

ไม่มีความคิดเห็น: