๑. ประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทย
การปกครองของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ช่วงก่อนเปลี่ยนแปลง
การปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งปกครองโดยบุคคลคนเดียว คือ
พระมหากษัตริย์
สุโขทัยตอนต้น
โดยเฉพาะในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้วางรูปการปกครอง แบบพ่อปกครองลูก
หรือระบอบปิตุลาธิปไตยนั้น ได้ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญ คือ หลักศิลาจารึก ซึ่งมีสาระหรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการปกครองหรือการใช้อำนาจของพระองค์
รวมถึง พันธะที่พระองค์ทรงมีต่อราษฎรด้วยนั้น จึงน่าจะอนุโลมได้ว่า
หลักศิลาจารึกดังกล่าว เป็นเสมือน รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรของไทยฉบับแรก
ในช่วงสุโขทัยตอนปลายถึงอยุธยา ได้วางรูปการปกครองแบบเทวสิทธิ์หรือระบอบ
ธรรมราชา พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจปกครองโดยมีพันธะผูกพันกับหลักธรรมคำสอนทางศาสนา โดยเฉพาะหลักทศพิธราชธรรม
หรือบัญญัติ ๑๐ ประการของกษัตริย์นั้น ก็น่าจะอนุโลมได้ว่าเป็น
รัฐธรรมนูญแบบจารีตประเพณี เนื่องจากการใช้อำนาจปกครองของกษัตริย์นั้นต้องอิงอยู่กับข้อบัญญัติ
ต่าง ๆ ทั้งศาสนาและธรรมะของกษัตริย์
ใน พ.ศ.
๒๔๗๕ ไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็น ระบอบประชาธิปไตยโดยคณะราษฎรผู้ก่อการได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกเรียกว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญ
การปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. ๒๔๗๕ นำขึ้นกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวพระราชทานให้และประกาศใช้ในวันที่
๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว ส่วนรัฐธรรมนูญที่ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก
คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งประกาศใช้เมื่อ ๑๐
ธันวาคม ๒๔๗๕
รัฐธรรมนูญกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน
ช่วงเวลาในวัยเด็กและเยาวชนมีความสำคัญที่จะบ่มเพาะพื้นฐานให้เป็นคนที่มีจิตสำนึก ทัศนคติ บุคลิกภาพ
และวุฒิภาวะพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติ แต่โครงสร้างของสังคมและสภาพแวดล้อมก็มิได้เอื้อให้เด็กและเยาวชนได้พัฒนาพื้นฐาน ทางศักยภาพให้มีคุณภาพอย่างแท้จริง ต้องเติบโตผ่านช่วงเวลาสำคัญไปโดยขาดการพัฒนาที่สมบูรณ์
กล่าวคือ กลุ่มหนึ่งมุ่งมั่นเพียงการเอาชนะการแข่งขันตามหลักสูตรของระบบการศึกษา ถูกบีบคั้นให้ต้องสอบเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยให้ได้ กับอีกกลุ่มหนึ่งไม่พึงพอใจกับการศึกษาในระบบออกนอกลู่นอกทางลุ่มหลงกับแหล่งบันเทิงเริงรมย์ ถูกมอมเมาให้หมกมุ่นอยู่กับความฟุ้งเฟ้อจนถูกล่อลวงให้หลงทางและตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม
ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้บัญญัติไว้ในมาตรา
80 กำหนดให้รัฐ มีหน้าที่ต้องพัฒนาเด็กและเยาวชนโดยเป็นหลักการกว้าง
ๆ เปิดทางให้รัฐต้องแสวงหา มิติใหม่
ๆ นอกเหนือจากระบบการศึกษาตามรูปแบบมารองรับการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความสมบูรณ์ในทุกด้าน แต่โดยสภาพความเป็นจริงไม่มีทางที่รัฐจะเป็นผู้ดำเนินการเองได้ทั้งหมด รัฐจึงต้องกระตุ้นให้ชุมชนท้องถิ่นได้ริเริ่มและแสดงพลังแห่งการสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ห้องสมุดชุมชน สถานพัฒนาสุขภาพและพลานามัย ชมรมกิจกรรมนันทนาการแบบสร้างสรรค์ หรือศูนย์ฝึกอบรมทักษะและอาชีพที่มีระบบกองทุนกึ่งภาครัฐและเอกชนมารองรับอาสาสมัครจากชุมชนท้องถิ่นในทุกมุมเมือง เป็นต้น ซึ่งรัฐไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง หากแต่จะต้องส่งเสริมด้วยวิธีการต่าง ๆ
ให้พลังทางสังคม เกิดความตื่นตัวเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพพื้นฐานของเด็กและเยาวชนอย่างจริงจัง โดยรัฐอาจช่วยเหลือด้วยมาตรการทางภาษีและเงินอุดหนุนกองทุน
ตลอดจน การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง
ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยตระหนักว่า การตื่นตัวของชุมชน ท้องถิ่นที่จะสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมใหม่ทางสังคมให้กับเด็กและเยาวชนจะเป็นหนทางกล่อมเกลาให้เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง
การหาโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลานอกระบบโรงเรียนให้เกิดคุณค่าจะช่วยให้มีการพัฒนาตนเอง ซึ่งมีความหมายที่ลึกซึ้งกว่าการเสียเวลามานั่งคิดถึงแต่การ ปรับปรุงหลักสูตรทางการศึกษา หรือการให้คำขวัญวันเด็ก หรือการจัดงานวันเด็กเป็นประจำทุกปีเหมือนดังเช่นที่ผ่านมา.
รัฐธรรมนูญกับเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมือง
การหาโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลานอกระบบโรงเรียนให้เกิดคุณค่าจะช่วยให้มีการพัฒนาตนเอง ซึ่งมีความหมายที่ลึกซึ้งกว่าการเสียเวลามานั่งคิดถึงแต่การ ปรับปรุงหลักสูตรทางการศึกษา หรือการให้คำขวัญวันเด็ก หรือการจัดงานวันเด็กเป็นประจำทุกปีเหมือนดังเช่นที่ผ่านมา.
รัฐธรรมนูญกับเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมือง
ในปัจจุบันมีพรรคการเมืองที่ได้จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องแล้วจำนวนหลายพรรค โดยมีความหลากหลายในแนวทางการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ให้ประชาชนสามารถเลือกสมัครเป็นสมาชิกของพรรคใดพรรคหนึ่ง หรือให้การสนับสนุนพรรคการเมืองนั้น ๆ
ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ก็ตาม แต่มีประชาชนอีกจำนวนไม่น้อยที่เห็นว่าพรรคการเมืองที่มีอยู่ ส่วนใหญ่แล้วไม่มีทิศทางที่ชัดเจนพอเกี่ยวกับการจัดการปัญหาสังคมหรือไม่สอดคล้องกับ ทัศนคติของประชาชน
ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 47 วรรคแรกบัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมือง ของประชาชน และเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้น…” แต่อย่างไรก็ดี มักมีข้อสังเกตเกี่ยวกับพัฒนาการของพรรคการเมืองในประเทศไทยว่า พรรคการเมืองที่มีเจตนารมณ์และอุดมการณ์ทางการเมืองชัดเจนที่ผ่านมามักไม่ประสบความสำเร็จในการขยายฐานความยอมรับไปยังประชาชนทั่วไป เมื่อมีข้อจำกัดทางการสนับสนุนก็พยายามยืดหยุ่นแนวทางที่มีอยู่เดิมให้เปิดกว้างมากขึ้นจนถูกมองว่าอุดมการณ์เดิมได้แปรเปลี่ยนไป อันส่งผลกระทบต่อความศรัทธาที่ประชาชนเคยมีให้ ในที่สุดก็เกิดความแตกแยกหรือแตกสลายของพรรคการเมืองนั้น พรรคการเมืองในปัจจุบันจึงมักวนเวียนอยู่กับพรรคการเมืองที่เกื้อหนุนกันทางผลประโยชน์กับกลุ่มผู้มีกำลังทุนที่ต้องอาศัยพึ่งพิงอำนาจทางการเมืองในการแข่งขันทางธุรกิจ ถึงแม้ว่าในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะได้กำหนดไว้ในมาตรา 328 ให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองต้องมี สาระสำคัญเกี่ยวกับการให้รัฐสนับสนุนทางการเงิน หรือประโยชน์อย่างอื่นแก่ .
พรรคการเมืองด้วย แต่ก็มีส่วนสนับสนุนการพัฒนาของพรรคการเมืองได้เพียงบางส่วน เสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ แม้มิได้ถูกปิดกั้นโดยกฎหมาย แต่ก็มีข้อจำกัดจากสภาพและค่านิยมที่มีอยู่ในวงการเมืองไทย ในอนาคตถ้าจะมีการตั้ง พรรคการเมืองขึ้นมาใหม่โดยมีเจตนารมณ์และอุดมการณ์ที่ชัดเจน จะทำอย่างไรที่จะให้พรรคการเมืองนั้นสามารถดำรงและพัฒนาต่อไปทางการเมืองได้ โดยไม่ต้องมุ่งเน้น ความสำเร็จเชิงปริมาณหรือการเข้าสู่การใช้อำนาจรัฐ เพียงแต่มีเจตนารมณ์และอุดมการณ์ทางการเมืองที่มีแนวทางชัดเจน เพื่อว่าอย่างน้อยที่สุดจะได้เหลือพรรคการเมืองที่มี อุดมการณ์เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของประชาชนได้บ้าง
การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการรวมกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง เป็นเป้าหมายและกระบวนการทางการเมือง เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยคือการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เพื่อเป็นการแสดงออกในฐานะที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริง ในฐานะที่เป็นกระบวนการทางการเมืองการมีส่วนร่วมทางการเมือง จะครอบคลุมกิจกรรมทางการเมืองทั้งปวงของประชาชน ตั้งแต่การแสดงความสนใจติดตามข่าวสารการเมือง การใช้สิทธิในการเลือกตั้ง และการรณรงค์ทางการเมืองต่าง ๆ ทั้งหลายทั้งปวง เป็นการปลูกฝังทำให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจ เกิดความศรัทธาเชื่อมั่น ในระบบการเมือง นำไปสู่การมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยในที่สุด.
ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 47 วรรคแรกบัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมือง ของประชาชน และเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้น…” แต่อย่างไรก็ดี มักมีข้อสังเกตเกี่ยวกับพัฒนาการของพรรคการเมืองในประเทศไทยว่า พรรคการเมืองที่มีเจตนารมณ์และอุดมการณ์ทางการเมืองชัดเจนที่ผ่านมามักไม่ประสบความสำเร็จในการขยายฐานความยอมรับไปยังประชาชนทั่วไป เมื่อมีข้อจำกัดทางการสนับสนุนก็พยายามยืดหยุ่นแนวทางที่มีอยู่เดิมให้เปิดกว้างมากขึ้นจนถูกมองว่าอุดมการณ์เดิมได้แปรเปลี่ยนไป อันส่งผลกระทบต่อความศรัทธาที่ประชาชนเคยมีให้ ในที่สุดก็เกิดความแตกแยกหรือแตกสลายของพรรคการเมืองนั้น พรรคการเมืองในปัจจุบันจึงมักวนเวียนอยู่กับพรรคการเมืองที่เกื้อหนุนกันทางผลประโยชน์กับกลุ่มผู้มีกำลังทุนที่ต้องอาศัยพึ่งพิงอำนาจทางการเมืองในการแข่งขันทางธุรกิจ ถึงแม้ว่าในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะได้กำหนดไว้ในมาตรา 328 ให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองต้องมี สาระสำคัญเกี่ยวกับการให้รัฐสนับสนุนทางการเงิน หรือประโยชน์อย่างอื่นแก่ .
พรรคการเมืองด้วย แต่ก็มีส่วนสนับสนุนการพัฒนาของพรรคการเมืองได้เพียงบางส่วน เสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ แม้มิได้ถูกปิดกั้นโดยกฎหมาย แต่ก็มีข้อจำกัดจากสภาพและค่านิยมที่มีอยู่ในวงการเมืองไทย ในอนาคตถ้าจะมีการตั้ง พรรคการเมืองขึ้นมาใหม่โดยมีเจตนารมณ์และอุดมการณ์ที่ชัดเจน จะทำอย่างไรที่จะให้พรรคการเมืองนั้นสามารถดำรงและพัฒนาต่อไปทางการเมืองได้ โดยไม่ต้องมุ่งเน้น ความสำเร็จเชิงปริมาณหรือการเข้าสู่การใช้อำนาจรัฐ เพียงแต่มีเจตนารมณ์และอุดมการณ์ทางการเมืองที่มีแนวทางชัดเจน เพื่อว่าอย่างน้อยที่สุดจะได้เหลือพรรคการเมืองที่มี อุดมการณ์เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของประชาชนได้บ้าง
การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการรวมกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง เป็นเป้าหมายและกระบวนการทางการเมือง เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยคือการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เพื่อเป็นการแสดงออกในฐานะที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริง ในฐานะที่เป็นกระบวนการทางการเมืองการมีส่วนร่วมทางการเมือง จะครอบคลุมกิจกรรมทางการเมืองทั้งปวงของประชาชน ตั้งแต่การแสดงความสนใจติดตามข่าวสารการเมือง การใช้สิทธิในการเลือกตั้ง และการรณรงค์ทางการเมืองต่าง ๆ ทั้งหลายทั้งปวง เป็นการปลูกฝังทำให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจ เกิดความศรัทธาเชื่อมั่น ในระบบการเมือง นำไปสู่การมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยในที่สุด.
รัฐธรรมนูญกับวุฒิสภา
นับแต่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475 การจัดให้มีวุฒิสภาในระยะหนึ่งก็เพื่อให้มาเป็นพี่เลี้ยงของสภาผู้แทนราษฎร ดังจะเห็นได้ว่าวุฒิสภาที่ผ่านมาจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ และวุฒิสภานั้นรัฐธรรมนูญก็มักจะกำหนดให้มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีเพื่อต้องการให้ฝ่ายบริหารมีความเข้มแข็ง เนื่องจากการเลือกตั้งแต่ละครั้งไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากเด็ดขาด จึงจำเป็นต้องแต่งตั้งวุฒิสภาคอยค้ำจุนฐานของรัฐบาล เจตจำนงของการแต่งตั้งผู้ที่มีประสบการณ์หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้เฉพาะด้านก็มีอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นการแต่งตั้งเพื่อเป็นการให้รางวัลทางการเมืองพัฒนาการในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ได้ดำเนินมากว่า 65 ปี ประชาชนมีความสนใจในการเมืองมากขึ้นจึงได้มีการปรับเปลี่ยนที่มาของวุฒิสภาเสียใหม่ โดยกำหนดให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเช่นเดียวกับผู้แทนราษฎร โดยกำหนดจำนวนวุฒิสมาชิกไว้ 200 คน การเลือกตั้งใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง เฉลี่ยตามจำนวนประชากรที่อยู่ในแต่ละจังหวัด โดยใช้วิธีการแบ่งเขตเป็นเลือกตั้งเขตเดียวคนเดียว เมื่อวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง การกำหนดให้วุฒิสภาปลอดจากพรรคการเมืองจะทำให้มีอิสระในการทำงานอย่างแท้จริง ในการที่จะคอยกลั่นกรองตรวจสอบการทำงานของสภาผู้แทนราษฎรรัฐธรรมนูญจึงกำหนดมาตรการต่างๆขึ้นไว้ดังต่อไปนี้
-ห้ามไม่ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นวุฒิสภาสังกัดพรรคการเมือง และถ้าเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องพ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1ปี
- ห้ามไม่ให้วุฒิสมาชิกเป็นรัฐมนตรี แม้ลาออกก็ต้องรอให้พ้น 1 ปีก่อนจึงจะเป็นนายกรัฐมนตรีได้
- ห้ามไม่ให้บุคคลที่เป็นวุฒิสมาชิกมาแล้วสมัยหนึ่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาสมัยที่สองติดกัน
-กำหนดให้รัฐจัดให้มีการปิดประกาศและติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง จัดหาสถานที่และจัดสรรเวลาออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อแนะนำผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ฉะนั้น วุฒิสมาชิกตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะมีความเป็นอิสระปราศจากฝักฝ่ายทางการเมือง สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบและถอดถอน ซึ่งอาจเรียกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งว่า “สภาตรวจสอบ” และมีอำนาจหน้าที่ที่เพิ่มขึ้น คือ มีอำนาจในการคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งในองค์กรตรวจสอบต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง เป็นต้น มีอำนาจตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวบรวมข้อเท็จจริง พยานหลักฐานอันจำเป็นแล้วรายงานต่อวุฒิสภา มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงเมื่อเห็นว่ามีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ วุฒิสภาไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่มีการลงมติได้ แต่สมัยประชุมหนึ่งจะกระทำได้เพียงครั้งเดียว
บทบาทอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน นอกจากจะเป็นพี่เลี้ยงของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ยังเป็นสภาตรวจสอบองค์กรต่าง ๆ อีกหน้าที่หนึ่งด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น