ไม่ได้ Post ผิดห้องนะ มาตรา 190 การทำสัญญาระหว่างประเทศ หรือการออกกฎหมายตามสัญญาระหว่างประเทศบางเรื่องต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน ก็เกี่ยวกับ DTA คืออนุสัญญาการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนก็เข้าข่ายด้วย
........................
ข่าววันที่ 7 มีนาคม 2554
รัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 1 พ.ศ.2554 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554
รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทั้งสองฉบับมีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป
การแก้ไขรัฐธรรมนูญในฉบับที่ 1 พ.ศ.2554 มีมากมายหลายประเด็น ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษามีจำนวนถึง 127 หน้า เช่นการแก้ไขมาตรา 93 จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้เป็น สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 500 คน(จำง่ายดี สภาห้าร้อย) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจำนวน 375 คน และจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 125 คน (เดิมสภาผู้แทนราษฎรมี 480 คน มาจากการเลือกตั้ง 400 คน และจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน 80 คน)
ส่วนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 มาตรา 190 สาระสำคัญคือ
1. หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทย
มีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ
2. การออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาก่อน
ซึ่งการพิจาณาเรื่องดังกล่าว รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง (กำชับสมาชิกสภาผู้แทนว่า อย่าโดดจนสภาล่ม องค์ประชุมไม่ครบ)
เท่าที่ตรวจสอบดู การแก้ไขมาตรา 190 มีวรรคห้า โดยเป็นการเพิ่มเติมบทบัญญัติเป็น
“ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดประเภท กรอบการเจรจา ขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือ
สัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าว โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป
โดยต้องจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา 190 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมนี้ภายใน 1 ปี นับจากวันประกาศใช้”
หมายเหตุ ตัวอักษรสีแดง คือบทบัญญัติที่เพิ่มเติมขึ้นจากของเดิม
มาตรา 190 นี้ทำให้การทำความตกลงเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน (DTA) ระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่างๆ หยุดชะงักลงตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
........................
ข่าววันที่ 7 มีนาคม 2554
รัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 1 พ.ศ.2554 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554
รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทั้งสองฉบับมีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป
การแก้ไขรัฐธรรมนูญในฉบับที่ 1 พ.ศ.2554 มีมากมายหลายประเด็น ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษามีจำนวนถึง 127 หน้า เช่นการแก้ไขมาตรา 93 จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้เป็น สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 500 คน(จำง่ายดี สภาห้าร้อย) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจำนวน 375 คน และจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 125 คน (เดิมสภาผู้แทนราษฎรมี 480 คน มาจากการเลือกตั้ง 400 คน และจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน 80 คน)
ส่วนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 มาตรา 190 สาระสำคัญคือ
1. หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทย
มีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ
2. การออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาก่อน
ซึ่งการพิจาณาเรื่องดังกล่าว รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง (กำชับสมาชิกสภาผู้แทนว่า อย่าโดดจนสภาล่ม องค์ประชุมไม่ครบ)
เท่าที่ตรวจสอบดู การแก้ไขมาตรา 190 มีวรรคห้า โดยเป็นการเพิ่มเติมบทบัญญัติเป็น
“ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดประเภท กรอบการเจรจา ขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือ
สัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าว โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป
โดยต้องจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา 190 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมนี้ภายใน 1 ปี นับจากวันประกาศใช้”
หมายเหตุ ตัวอักษรสีแดง คือบทบัญญัติที่เพิ่มเติมขึ้นจากของเดิม
มาตรา 190 นี้ทำให้การทำความตกลงเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน (DTA) ระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่างๆ หยุดชะงักลงตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น