นาฬิกา

เซี่ยมซีหลวงพ่อพระชีว์

สรุปตลาดหุ้น

ตารางฟุตบอล

สร้างรายได้เพียงง่ายๆ

Subscribe in a reader Google AdSense คือบริการจาก Google ที่ให้ผู้ที่มีเว็บไซต์ สามารถหารายได้โดยการนำ Code ที่ได้จากการสมัครเป็นสมาชิกของ Google มาใส่ไว้ที่เว็บไซต์ของตนเอง ซึ่ง Code นั้นจะเป็น โฆษณาที่ส่งมาจาก Google โดยโฆษณานั้น ๆ จะเป็นโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ ตัวอย่างเช่นถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว โฆษณาที่ส่งมาจาก Google ก็อาจเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ โรงแรม,สายการบิน เป็นต้น

ข้อความ

ข้อความ

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

ยอมปีนต้นงิ้ว - ดวงตา คงทอง.mp4

ดอกรักบานบนต้นงิ้ว หนวด สะตอ

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

หน่วยการเรียนที่ 1 เรื่อง ศาสนากับการดำเนินชีวิต


ศาสนาพราหมณ์
   หลักอาศรม 4
       อาศรม 4 หมายถึง ขั้นตอนของชีวิตหรือแนวทางปฏิบัติตามวัยเพื่อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น แบ่งเป็น 4 ระยะคือ
         1.พรหมจารี เป็นระยะของวัยศึกษาเล่าเรียน เริ่มตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ถึง 25 ปี โดยเด็กชายทุกคน ในตระกูลพราหมณ์จะได้รับการคล้องด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า สายธุรำ จากผู้ประพฤติพรหมจรรย์จึงจะถือว่าเป็นพราหมณ์โดยสมบูรณ์
         2. คฤหัสถ์ เป็นระยะของวัยครองเรือน อยู่ในช่วงอายุ 25 ปีถึง 50 ปี คือ เมื่อจบการศึกษาแล้วก็มีครอบครัวประกอบอาชีพและปฏิบัติพิธีกรรมตามหน้าที่ของตน
         3. วานปรัสถ์ เป็นระยะออกบวช เพื่อแสวงหาความสงบหรือความหลุดพ้นหากไม่ละทิ้งชีวิตครองเรือนก็ต้องบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น
         4. สันยาสี เป็นระยะสุดท้ายของชีวิต จะออกบวชจาริกแสวงบุญบำเพ็ญเพียรตามหลักศาสนาเพื่อหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ไม่มีการเกิดอีกคือ โมกษะ
   หลักปุรษารถะ
      
การดำเนินชีวิตที่ดีเพื่อให้พบความหลุดพ้น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตโดยจะต้องมีหลักฝึก 4 ประการคือ
         1. อรรถ คือ การแสวงหาทรัพย์ การสร้างฐานะทางเศรษฐกิจให้มั่นคง
         2. กาม คือ การแสวงหาความสุขทางโลกตามหลักธรรมชาติของผู้ครองเรือน
         3. ธรรม คือ การถึงพร้อมด้วยคุณธรรม หลักธรรม หรืออยู่ในระเบียบความประพฤติของคนในสังคม
         4.โมกษะ คือ ความหลุดพ้นจากความทุกข์ เป็นอิสรดภาพทางวิญญาณที่จะก่อให้เกิดความสุขอันเป็นนิรันดร์
   หลักปรมาตมันและโมกษะ
      ปรมาตมัน คือ ลักษณะของการเวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุดผู้ใดประพฤติดีก็จะไปเกิดในวรรณะที่ดี ผู้ใดประพฤติชั่วก็จะไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
      โมกษะ คือ การหลุดพ้นจากการเวียรว่ายตายเกิด ปราศจากกรรมผูกพันหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงไม่มีการเกิดอีกตลอดไป

หน่วยการเรียนที่ 1 เรื่อง ศาสนากับการดำเนินชีวิต


ศาสนาอิสลาม
   ศาสนาอิสลาม มีพระศาสดาคือ พระมะหะหมัดหรือนบีมูฮัมหมัด ที่นับถือพระอัลเลาะห์เป็นพระเจ้าองค์เดียว และเป็นศาสนาแห่งกฎหมายเพราะมีคัมภีร์กรุอาน ที่ชัดเจนในตัวนไปถือปฏิบัติได้ทันที ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเรียกว่า มุสลิมหรืออิสลามนิกชน มีหลักคำสอนสำคัญคือหลักศรัทธาหรือความเชื่อ 6 ประการกับหลักปฏิบัติ 5 ประการดังนี้
หลักศรัทธา 6 ประการ
   เป็นหลักบัญญัติในคัมภีร์กรุอาน ที่กำหนดให้ผู้ที่เป็นมุสลิมศรัทธาหรือเชื่อให้หลักสำคัญ ๆ 6 ประการดังนี้
   1.ศรัทธาในพระอัลเลาะห์องค์เดียว ไม่มีแบบอย่างใด ๆ ที่จะยกขึ้นมาเทียบเคียงพระองค์ได้
   2. ศรัทธาในศาสดาองค์ก่อน ๆ และมีศรัทธาเชื่อมั่นว่าพระมะหะมัดเป็นศาสดาองค์สุดท้าย ชาวมุสลิมจะต้องเชื่อในบรรดามะลาอีกะห์(ทูตสวรรค์) ซึ่งมีจำนวนมากและมีหน้าที่ต่างๆ กันทุกองค์จะประกอบแต่ความดีละเว้นความชั่ว
   3. ศรัทธาในคัมภีร์กรุอาน โดยเชื่อว่าพระอัลเลาะห์ได้ประทานมาให้เป็นคัมภีร์สุดท้ายและสมบูรณ์ที่สุด
   4. ศรัทธาในบรรดาศาสนาทูต ศาสนาฑูตเป็นบุคคลที่พระเจ้าเลือกขึ้นมาเพื่อนำคำสั่งสอนของพระองค์ไปสู่มนุษย์ซึ่งมีหลายคน มุสลิมทุกคนต้องศรัทธาในศาสดาทุกองค์ที่กล่าวในคัมภีร์
   5. ศรัทธาในวันพิพากษาโลก ซึ่งเป็นวันที่มนุษย์ทุกคนจะพบกับการเปลี่ยนแปลงแล้วกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ เพื่อรับผลกรรมจากการกระทำที่ได้ทำไว้ ผู้ทำดีก็ได้รับผลดี ผู้ทำชั่วก็จะได้รับผลร้าย เป็นต้น
   6. ศรัทธาในกฎสภาวการณ์ของพระเจ้า คือการเชื่อว่าสภาวะของโลกและชีวิตเป็นไปตามอำนาจของพระอัลเลาะห์ ที่ตั้งขึ้น
หลักปฏิบัติ 5 ประการ
  
 เมื่อชาวมุสลิมมีศรัทธา 6 ประการแล้ว จะต้องแสดงออกถึงความสำนึกด้วยการปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ 5 ประการที่สอดคล้องกันเพื่อให้ความสุขความสันติแก่ตนเองและสังคม ดังนี้
   1.การปฏิญาณตน ว่าจะศรัทธาเชื่อมั่นในพระอัลเลาะห็ องค์เดียวและมีมะหะมัดเป็นศาสนาทูตของพระอัลเลาะห็ โดยต้องปฏิญาณออกมาจากจิตใจด้วยความศรัทธาอย่างแท้จริง แล้วทำอย่างสม่ำเสมอ
   2. การละหมาด คือ การแสดงควาเคารพตาอพระเจ้า วันละ5 ครั้ง คือ ย่ำรุ่ง กลางวัน เย็น พลบค่ำ และกลางคืน โดยหันหน้าไปทางนครเมกกะฮ์ ก่อนละหมาดต้องทำกายและใจให้สะอาด สงบ การละหมาดจะช่วยขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์หนักแน่น มั่นคงและอดทนในการทำความดี
   3. ชาวมุสลิมต้องถือศีลอดเป็นเวลา 1 เดือน เรียกว่าเดือนรอมฏอน ด้วยการงดเว้นจากการรับประทานอาหาร การดื่ม การร่วมประเวณี การทำความชั่วทั้งปวง ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตก ซึ่งนอกจากจะฝึกความอดทนแล้ว ยังสร้างความเท่าเทียมกันหรือความเสมอภาคให้กับมุสลิมทุกคนด้วย
   4. การบริจาคซากาต คือการที่ชาวมุสลิมจะต้องบริจาคทรัพย์สิน 2.5เปอร์เซ็นของรายได้ต่อปีเพื่อไว้ช่วยเหลือผู้ยากจน เป็นการทำให้สังคมของชาวมุสลิม มีสภาพดีขึ้นและยังเป็นการลดความตระหนี่และความเห็นแก่ตัวของบุคคลได้
   5. การประกอบพิธีฮัจญ์ คือการไปแสวงบุญที่วิหารกะบะห์ นครเมากกะประเทศซาอุดิอาระเบีย ด้วยในคัมภีร์กรุอาน ได้กล่าวไว้ว่าเป็นความประสงค์ของอัลเลาะห์ ที่ให้มุสลิมซึ่งบรรลุนิติภาวะ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีกำลังทรัพย์ไปบำเพ็ญพิธีฮัจญ์ เพื่อเป็นการแสดงถึงความเสมอภาคและความสามัคคีของชาวมุสลิมทั่วโลก
นอกจากศรัทธา และหลักปฏิบัติ 5 ซึ่งเป็นการปฏิบัติศาสนากิจโดยตรงแล้วในคัมภีร์กรุอานยังมีบัญญัติเงื่อนไขต่าง ๆ ในการดำรงชีวิตที่ชาวมุสลิมต้องปฏิบัติ เช่น การเกิด การสมรส การตาย การปฏิบัติในวันศุกร์และวันสำคัญทางศาสนา ฯลฯ อีกทั้งยังมีข้อห้ามอีกหลายประการที่ชาวมุสลิมพึงงดเว้น

หน่วยการเรียนที่ 1 เรื่อง ศาสนากับการดำเนินชีวิต


 เบญจขันธ์
   ไตรลักษณ์ แปลว่า สามัญลักษณะหรือลักษณะ 3 ประการของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั่วไป ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติที่มีอยู่ในสรรพสิ่ง เป็นหลักที่แน่นอนตายตัว เป็นความจริงที่เกิดขึ้น มีองค์ประกอบ 3 ประการคือ
   อนิจจตา คือความไม่เที่ยง ความไม่ยั่งยืน ความไม่ถาวร ความไม่คงที่ ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมสลายไป ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน มีเกิดขึ้น ดำรงอยู่และเสื่อมสลายไปในที่สุด ควรรู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เกิดขึ้น
   ทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ทนไม่ได้ เป็นความทุกข์กาย ทุกข์ใจ เช่น ทุกข์เพราะการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกข์เพราะความรัก ความผิดหวัง รวมไปถึงทุกข์ของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เป็นภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
   อนันตตา คือ ความไม่มีตัวตนหรือปราศจากาตัวตนที่แก้จริง สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงหรือสังขารทุกชนิดเป็นสิ่งสมมุติขึ้น ดำเนินไปตามเหตุ ตามปัจจัย อย่าถือเป็นเรื่องจริงจังว่าตัวเรา ของเรา ซึ่งจะทำให้เกิดความลุ่มหลงและเป็นทุกข์ได้
   ทุกหลักคำสอนในศาสนาพุทธ เป็นสากล นำไปศึกษาปฏิบัติที่ไหนเมื่อไรก็เกิดประโยชน์และเกิดความสุขกับตนเอง คนรอบข้างและสังคมเพราะเป็นหลักความจริงตามธรรมชาติที่ไม่มีใครปฏิเสธได้โดยสิ้นเชิง
ศาสนาคริสต์
   ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาแห่งประวัติศาสตร์ ยิ่งใหญ่และสำคัญศาสนาหนึ่งของโลก ที่มีพระเยซูเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นวิถีทางการดำเนินชีวิตในสังคมของผู้นับถือศาสนาองค์เดียว ปัจจุบันมีนิกายสำคัญๆ 3 นิกาย คือ โรมันคาทอลิก(Roman eatholie) กรีนออร์ธอดอกซ์(Greek Orthodox) และโปรเตสแตนต์ (Protestant) มีคัมภีร์ศาสนาเรียกว่า ไบเบิล (Bible) ซึ่งแบ่งเป้น 2 คัมภีร์คือ คัมภีร์เดิม (พันธสัญญาเดิม Old testament) ที่รับมาจากศาสนายูดาห์ และคัมภีร์ใหม่ (พันธสัญญาใหม่ New Testament ) ซึ่งเน้นบันทึกชีวิตและคำสอนของพระเยซูรวมทั้งเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ ตามความสำนึกของศาสนาคริสต์
หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาคริสต์
   1. เรื่องความรัก ศาสนาคริสต์ สอนให้รักพระเจ้า รักครอบครัว รักเพื่อนมนุษย์ทั้งมวล โดย ไม่เลือกชนชั้นและเชื้อชาติ ให้เมตตาผู้กระทำผิดโดยไม่ตั้งใจ เห็นใจผู้ที่มีทุกข์และอภัยแม้แต่ผู้ที่วางตัวเป็นศัตรู
   2. หลักตรีเอภานุภาพ เป็นการสอนให้ยึดมั่นเคารพบูชาในองค์ 3 คือ พระบิดา หมายถึง พระยะโฮวา คือผู้สร้างโลกมนุษย์และสรรพสิ่ง พระบุตร คือพระเยซูและพระจิต คือรวมบิดาและพระบุตร อันเป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฏในจิตวิญญาณของมนุษย์ เพื่อเกื้อกูลให้มนุษย์เป็นคนดี
   3. บาปกำหนด ( Original Sin) เมื่อพระเจ้าสร้างโลกได้สร้างชายหญิง คือ อาดัมและอีฟให้อยู่กินกันอย่างมีความสุข ต่อมาทั้งคู่ได้ทำผิดโดยแอบไปกินผลไม้ต้องห้าม พระเจ้าจึงลงโทษโดยให้ทั้งคู่ทำมาหากินลำบาก แล้วให้ความผิดนั้นตกทอดมาถึงมนุษย์ทุกคน บาปนี้จึงเรียกว่า บาปกำหนด
   4. บัญญัติ 10 ประการ เป็นหลักศาสนาที่อยู่ในคัมภีร์เดิม ซึ่งพระเจ้าประทานให้แก่ โมเสส ถือเป็นหลักปฏิบัติสำหรับผู้นับถือศาสนาคริสต์มีดังนี้คือ
      4.1 เคารพพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว
      4.2 ห้ามนับถือรูปบูชาใด ๆ
      4.3 อย่าออกนามพระเจ้าโดยไม่เคารพ
      4.4 จงถือวันพระเจ้าเป็นวันสำคัญ
      4.5 เคารพบิดามารดา
      4.6 ห้ามฆ่ามนุษย์
      4.7 ห้ามผิดประเวณี
      4.8 ห้ามลักทรัพย์
      4.9 ห้ามคิดมิชอบ
      4.10 อย่าโลภในสิ่งของผู้อื่น 

หน่วยการเรียนที่ 1 เรื่อง ศาสนากับการดำเนินชีวิต


หลักคำสอนของศาสนาสำคัญในประเทศไทย
ศาสนาสำคัญในประเทศไทย
   ประเทศไทยมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแต่ไม่มีการกีดกั้นศาสนาอื่นๆ อีกทั้งยังให้การสนับสนุนและส่งเสริมศาสนาอื่นๆมาช้านาน จึงมีศาสนาสำคัญๆในประเทศไทย ดังนี้
ศาสนาพุทธ
   พระพุทธศาสนาในประเทศไทย เป็นศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือและถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติ ที่มีอิทธิพลครอบคลุมไปถึงระบบการปกครอง กริยามารยาทตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีไทย แม้แต่คนไทยที่นับถือศาสนาอื่นๆก็ยอมรับในธรรมเนียมประเพณีและมารยาทเหล่านั้นเพราะเห็นว่าเป็นของไทย หลักธรรมสำคัญของศาสนาพุทธ คือ การทำความดีไม่ทำความชั่วทั้งปวงและทำจิตใจให้บริสุทธิ์ การจะเป็นคนดีนั้นต้องปฏิบัติตามหลักธรรม คำสั่งสอนของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหลักธรรมสำคัญ คือ อริยสัจ 4 เบญขันธ์และไตรลักษณ์
   อริยสัจ 4
   อริยสัจ 4 เป็นหลักความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเป็นหลักธรรมที่สอนคนให้เข้าใจปัญหา แล้วแก้ไขปัญหาได้มีอยู่ 4 ประการ คือ
      1. ทุกข์ คือความทุกข์หรือปัญหา ชีวิตของทุกคนในโลกนี้มีปัญหาทั้งปัญหาทั่วไป และปัญหาสากล เช่น ปัญหาความเป็นอยู่ ปัญหาปากท้อง ปัญหาการอยู่ร่วมกับคนผู้อื่น ปัญหาการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เมื่อมีปัญหาก็จะเป็นความทุกข์มีทั้งทุกข์กาย ทุกข์ใจและทุกข์จาก การยึดมั่นในตัวเอง เป็นต้น
      2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา โดยสอนว่าปัญหาเกิดมาจาก สาเหตุหรือปัจจัยที่เรียกว่า ตัณหาหรือความอยากต่างๆ ซึ่งจะแสดงออกมา 3 ลักษณะคือ กามตัณหา คือ ความอยากได้ในสิ่งที่เป็นพื้นฐานของโลก เช่น บ้าน รถ แหวนเพชร เป็นต้น ภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากได้หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น อยากมี บ้านหลังใหญ่ ความเป็นดารา อยากได้เงินมากๆ วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่อยากได้ และหนีให้พ้นจากสภาพที่ไม่ต้องการเช่น ไม่อยากเป็นโจร ไม่อยากพิการ ไม่อยากเป็นคนจน เป็นต้น
      3. นิโรธ คือ การดับทุกข์หรือการแก้ปัญหาให้มีสภาพที่ไม่ทุกข์ต่อไปอีก โดยเชื่อว่า มนุษย์มีความสามารถที่จะพัฒนาตนเองไปเป็นผู้แก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ โดยไม่ต้องอาศัยอำนาจศักดิ์สิทธ์ใดๆ มาดลบันดาลให้เป็นไป
      4. มรรค คือ ทางดับทุกข์หรือแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งมีข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อยู่ 8 ประการเรียกว่า มรรค 8หรือ มัณชิมาปฏิปทาน แปลว่า ทางสายกลางซึ่งประกอบด้วย
         4.1 สัมมาทิฎฐิ (เห็นชอบ) คือเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น
         4.2 สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) คือการนึกคิดในสิ่งที่ถูกต้อง คิดที่จะปราศจากโลภ พยาบาท ปองร้ายผู้อื่นและไม่เบียดเบียนผู้อื่น
         4.3 สัมมาวาจา (วาจาชอบ) ได้แก่การพูดด้วยถ้อยคำที่ไม่มีโทษหรือคำสุภาพ จะเว้นการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ่อ พูดให้แตกความสามัคคี
         4.4 สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ได้แก่การกระทำที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
         4.5 สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) หมายถึง การเลี้ยงชีพด้วยการประกอบอาชีพสุจริต ไม่ประกอบอาชีพทุจริต ค้าอาวุธ ค้ายาเสพติด ฆ่ามนุษย์ เป็นต้น
         4.6 สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) หมายถึง การสะสมความเพียรพยายามไม่ให้เกิดความชั่วขึ้นในจิต ละความชั่วที่เกิดขึ้นให้หมดไป สร้างความดีขึ้นมาเพิ่ม แล้วรักษาความดีที่มีอยู่แล้วให้คงอยู่ตลอดไป
         4.7 สัมมาสติ (ระลึกชอบ) หมายถึง การมีความระลึกรู้ตัว หรือระลึกรู้กายทำให้เกิดประโยชน์ คือ สามารถควบคุมสภาพจิตใจให้อยู่ในภาวะที่ต้องเป็นตัวของตัวเองโดยไม่ยึดติดกับปัญหา อุปทาน สามารถทำพฤติกรรมต่างๆด้วยเหตุผลของตัวเอง
         4.8 สัมมาสมาธิ (ตั้งใจมั่น) หมายถึง การมีจิตใจแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ลังเลสงสัย ทำให้กิเลสต่างๆ สงบไป

หน่วยการเรียนที่ 1 เรื่อง ศาสนากับการดำเนินชีวิต


ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการดำเนินชีวิต
   ศาสนาเป็นสิ่งที่มีมาช้านาน ในระยะแรกศาสนาเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อขจัดความหวาดกลัวสิ่งต่างๆ ที่ล้อมรอบตัวของมนุษย์ คิดว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาจากการกระทำของผู้มีฤทธิ์มากกว่าตน เมื่อมนุษย์เริ่มเรียนรู้ธรรมชาติมากขึ้นและเกิดเป็นศาสนาที่มีเหตุผลเข้ามาเป็นแบบแผนและเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ความเชื่อศรัทธาในกิจกรรมหรือพิธีกรรมต่างๆ ของแต่ละศาสนาก็กลายมาเป็นประเพณี วัฒนธรรมที่ทำสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
   ศาสนาทุกศาสนา จะเป็นที่พึ่งทางใจของมนุษย์ มีหลักธรรมคำสั่งสอนที่มุ่งหมายสั่งสอนให้คนที่เป็นสมาชิกในสังคมเป็นคนดี มีคุณธรรมมีเหตุผลและศรัทธาในความถูกต้อง มีพิธีกรรมและเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นศาสนานั้นๆ บุคคลไม่ว่าจะอยู่ในฐานะ บทบาทใดจะต้องยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต เพราะธรรมหรือหลักคำสอนจะช่วยแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆได้ อีกทั้งจะทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
   สำหรับคนไทยแล้ว ศาสนาเป็นสถาบันสำคัญของสังคมไทยโดยยอมรับศาสนาพุทธ เป็นศาสนาสำคัญประจำชาติและเปิดโอกาสให้บุคคลนับถือศาสนาต่างๆได้โดยอิสระ ยอมให้ศาสนาสำคัญทั้งปวงตั้งอยู่ในประเทศไทยได้ เช่นศาสนาคริสต์ อิสลาม พราหมณ์ อินดู เป็นต้น แต่ศาสนาพุทธเป็นจุดรวมจิตใจของคนไทยส่วนใหญ่ จึงได้ยึดหลักธรรมมาเป็นพื้นฐานของชีวิตเพื่อที่จะนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศด้วย นอกจากศาสนาพุทธแล้ว ยังนำสิ่งที่มีคุณค่าของศาสนาอื่นมาผสมผสานกับหลักของศาสนาพุทธด้วย เช่น พิธีกรรมของพราหมณ์ในการตั้งศาลพระภูมิ การขึ้นบ้านใหม่ การเข้าร่วมทำกิจกรรมกับศาสนาอื่น โดยไม่ถือว่าเป็นการเสื่อมเสียหรือเป็นบาป ยอมรับการแต่งงานกับคนต่างศาสนาได้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่ร่วมกันของครอบครัว และยังให้การคุ้มครองป้องกันศาสนาและลัทธิความเชื่อทั้งหลายที่ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
หลักธรรมกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
   ศาสนาเป็นเรื่องของจิตใจและอารมณ์ สามารถจูงใจและผูกใจคนไว้ได้อย่างแน่นแฟ้น มนุษย์จะนำศาสนาที่คนนับถือติดตัวไปปฏิบัติหรือเผยแพร่ในที่ใหม่ ศาสนาไม่ใช่ของที่อยู่กับที่แต่จะอยู่ตรงที่หนึ่งที่ใดก็ต่อเมื่อมนุษย์ยังไม่อพยพไปไหน บุคคลที่เกิดมาในศาสนาใดก็จะนับถือศาสนานั้น และมีความประพฤติคล้ายกับบุคคลที่นับถือศาสนานั้นๆ เช่น เด็กฝรั่งที่ถูกเลี้ยงแบบไทยและให้นับถือศาสนาพุทธ ก็จะมีพฤติกรรมและความคิดอ่านไปในแบบไทยๆ เป็นต้น ศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของคนในสังคม โดยเฉพาะหลักธรรมที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการดำเนินชีวิตซึ่งทุกศาสนามีความสอดคล้องกัน โดยการยึดมั่นในการทำความดี ความสอดคล้องกันของหลักธรรมของแต่ละศาสนาทำให้บุคคลเข้าใจกัน อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข หลักธรรมที่ศาสนิกชนสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน มีดังนี้
   1. การทำความดี ละเว้นความชั่ว แนวทางการปฏิบัติของแต่ละศาสนาแตกต่างกันแต่ทุกศาสนาก็สอนให้ทำความดีและละเว้นความชั่วทั้งนั้น เช่น ศีล5 ของศาสนาพุทธ บัญญัติ 10 ประการของศาสนาคริสต์และหลักศรัทธา 6 ประการกับหลักปฏิบัติ 5 ประการของศาสนาอิสลาม เป็นต้น
   2. การพัฒนาตนเองและการพึ่งตนเอง ศาสนาต่างๆ สอนให้คนพึ่งตนเองและพัฒนาตนเองเพื่อให้อยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข โดยเฉพาะศาสนาพุทธที่มีพุทธศาสนาสุภาษิต ว่า “อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ” หมายถึง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ศาสนาพราหมณ์มีหลักอาศรม 4 ในข้อพรหมจารี ที่ให้นักศึกษาเล่าเรียนและในข้อคฤหัสถ์ที่ให้ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเอง ศาสนาอิสลามสอนให้คนใฝ่หาความรู้ตั้งแต่เกิดจนตาย
   3. ความยุติธรรม ความเสมอภาพและเสรีภาพ คำสอนของศาสนาจะเน้นในเรื่องเหล่านี้เพราะทุกเรื่องจะทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างันติ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ชาติตระกูลไม่ได้เป็นเครื่องกำหนดความแตกต่างของบุคคล คนที่เกิดมาเท่าเทียมกันทั้งนั้นและสอนให้ทุกคนอยู่ภายใต้อคติ 4 คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติและภยาคติ ศาสนาอิสลามก็สอนให้ดำรงความยุติธรรมอย่าถือตามอารมณ์ใคร่ในการรักษาความยุติธรรมแม้บางครั้งจะกระเทือนต่อตนเอง บิดามารดาหรือญาติบ้างก็ตาม
   4. การเสียสละหรือการสังคมสงเคราะห์ศาสนาต่างๆ สอนให้มีความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และสงเคราะห์ซึ่งกันและกันด้วยความเมตตากรุณาไม่ใช่หวังผลตอบแทน เช่นพุทธศาสนามีหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา ศาสนาอิสลามมีการบริจาคซากาต แก่ผู้ขัดสน ศาสนาคริสต์ก็จะเน้นให้มนุษย์เสียสละให้อภัย เอื้อเฟื้อเป็นต้น
   5. ความอุตสาหะและความพยายาม ทุกศาสนาสอนให้คนมีความอุตสาหะ มีความเพียร ความอดทนและมีความพยายามอันจะช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จพร้อมทั้งพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ศาสนาพุทธมีคติเตือนใจว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น หรือหลักคำสอนอิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ศาสนาอิสลามมีการละหมาดวันละ 5 ครั้งจึงถือว่าเป็นความพยายามที่จะขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์
   6. ความรักความเมตตา คำสอนทุกสาสนาจะเน้นเรื่องความรักความเมตตา เพราะการที่คนเราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันตินั้น ความรักความเมตตาเป็นสื่อสำคัญอีกทั้งยังเป็นจริยธรรมของศาสนาคริสต์ ในพุทธศาสนาก็มีพุทธศาสนสุภาษิตว่า เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลก
   7. ความมีคุณธรรมอดทน อดกลั้น เกือบทุกศาสนา มีบทบัญญัติและข้อปฏิบัติในเรื่องนี้เหมือนกัน เช่น ศีลของศาสนาพุทธ บัญญัติ 10 ประการของศาสนาคริสต์ การถือศีลอดของศาสนาอิสลาม ทุกข้อปฏิบัติคือการให้คนมีคุณธรรม อดทนและอดกลั้น
   8. การยกย่องเคารพบิดามารดาถือเป็นหลักสำคัญของศาสนาต่างๆ ว่าบุพการีเป็นสิ่งควรยกย่องในศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่าบิดา มารดาเป็นพระพรหมของลูก ศาสนาคริสต์มิใช่ในบัญญัติ 10 ประการ ข้อที่ 4 ว่า จงนับถือบิดา มารดาเป็นต้น
   9. การไม่แบ่งชั้นวรรณะ พระพุทธเจ้าตรัสว่า กำเนิดชาติตระกูลมิได้ทำให้บุคคลเป็นพราหมณ์เป็นกษัตริย์ เป็นพ่อค่า ความประพฤติของบุคคลเป็นเครื่องกำหนดบุคคล ทุกคนเท่าเทียมกัน ศาสนาอิสลามถือเป็นหลักสำคัญว่า หลักศรัทธาและหลักบัญญัติต้องอยู่ในเงื่อนไขการไม่แบ่งชั้นวรรณะอย่างชัดเจน
   10.ไม่เสพสุรา ไม่เล่นการพนัน ไม่พูดจาขยายความ เป็นพื้นฐานของทุกศาสนาที่บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นสิ่งไม่ควรทำ เช่น ศีลในศาสนาพุทธ บัญญัติ 10 ประการในศาสนาคริสต์หลักบัญญัติในศาสนาอิสลามเป็นต้น

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 1,2 พ.ศ.2554

ไม่ได้ Post ผิดห้องนะ มาตรา 190 การทำสัญญาระหว่างประเทศ หรือการออกกฎหมายตามสัญญาระหว่างประเทศบางเรื่องต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน  ก็เกี่ยวกับ DTA คืออนุสัญญาการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนก็เข้าข่ายด้วย

........................
ข่าววันที่ 7 มีนาคม 2554
รัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 1 พ.ศ.2554 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554

     รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทั้งสองฉบับมีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป
     การแก้ไขรัฐธรรมนูญในฉบับที่ 1 พ.ศ.2554  มีมากมายหลายประเด็น ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษามีจำนวนถึง 127 หน้า  เช่นการแก้ไขมาตรา 93 จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้เป็น สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 500 คน(จำง่ายดี สภาห้าร้อย) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจำนวน 375 คน และจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 125 คน (เดิมสภาผู้แทนราษฎรมี 480 คน มาจากการเลือกตั้ง 400 คน และจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน 80 คน)



     ส่วนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 มาตรา 190 สาระสำคัญคือ
     1. หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทย
มีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ
     2. การออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาก่อน

     ซึ่งการพิจาณาเรื่องดังกล่าว รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง (กำชับสมาชิกสภาผู้แทนว่า อย่าโดดจนสภาล่ม องค์ประชุมไม่ครบ)

     เท่าที่ตรวจสอบดู การแก้ไขมาตรา 190 มีวรรคห้า โดยเป็นการเพิ่มเติมบทบัญญัติเป็น
     “ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดประเภท กรอบการเจรจา ขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือ
สัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าว โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป
     โดยต้องจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา 190 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมนี้ภายใน 1 ปี นับจากวันประกาศใช้”
     หมายเหตุ  ตัวอักษรสีแดง คือบทบัญญัติที่เพิ่มเติมขึ้นจากของเดิม

     มาตรา 190 นี้ทำให้การทำความตกลงเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน (DTA) ระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่างๆ หยุดชะงักลงตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

สรุปความคิดเห็นต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ


สรุปความคิดเห็นต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
โดย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้นำเสนอการประมวลผลจากการประชุมระดมความคิดเห็น ทั้ง 5 ครั้ง ในช่วงเดือนสิงหาคม-เดือนกันยายน 2544 ซึ่งมีผู้แทนและผู้สนใจจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรพัฒนาเอกชนเข้าร่วม โดยยึดแนวทางการประเมินของคณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (UN CSD) สรุปได้ดังนี้
การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย เป็นการพัฒนาที่ต้องคำนึงถึงความเป็นองค์รวมของทุกๆ ด้านอย่างสมดุล บนพื้นฐานของทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่ม ด้วยความเอื้ออาทร เคารพซึ่งกันและกัน เพื่อความสามารถในการพึ่งตนเองและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียม
ทบทวนการพัฒนาที่ผ่านมา
ก. ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนของชาติ
·         รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2540 ก็ถือเป็นกรอบนโยบายแห่งรัฐที่สำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สำคัญ มีผลทำให้ในการปฏิรูปโครงสร้างการเมืองการปกครองหลายประการ อาทิ การประกาศใช้ พ.ร..บ. แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 รวมถึงการจัดตั้งองค์กรอิสระและองค์กรต่างๆ ขึ้น เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ
·         ประเทศไทยมี 2 หน่วยงานหลัก ทำหน้าที่รับผิดชอบการกำหนดนโยบายและแผนหลักของประเทศ ซึ่งมีผลนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รับผิดชอบจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะ 5 ปี และ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดย สผ. ยังทำหน้าที่เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ "คณะอนุกรรมการกำกับการอนุวัตแผนปฏิบัติ 21 และการพัฒนาที่ยั่งยืน" ที่ต้องจัดทำรายงานแห่งชาติทบทวนผลการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
·         นโยบายและแผนหลักของประเทศยังขาดวิสัยทัศน์ในระยะยาว และยังไม่มีการบูรณาการประเด็นด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่ดีพอ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาหลักอีกประการคือ การนำนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติ และมีข้อจำกัดอื่นๆ คือ ระบบฐานข้อมูลยังไม่มีความสมบูรณ์ ขาดตัวชี้วัดการพัฒนา มีข้อจำกัดเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจและศักยภาพของประชาชน การประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 การไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเมือง และมีปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย
ข. การบูรณาการและการมีส่วนร่วม
·         การบูรณาการและการมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้นในรูปแบบของคณะกรรมการร่วมและคณะทำงานต่างๆ ดังเช่น คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ NCSD-Thailand ซึ่งได้มีการปรับปรุงโครงสร้าง เพื่อให้มีส่วนร่วมของพหุภาคีมากขึ้น สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ถูกแต่งตั้งขึ้นจากผู้มีประสบการณ์และผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการเสนอชื่อจากสาขาต่างๆ ทั่วประเทศ แต่คณะกรรมการฯ ทั้งสองเพิ่งจะมีการปรับปรุงและจัดตั้งขึ้นมาใหม่ จึงยังไม่มีบทบาทมากนักในปัจจุบัน
·         ทบทวนนโยบายและแผนของประเทศ
o    ยังขาดประสิทธิภาพในแง่ของการบูรณาการประเด็นต่างๆ เข้าอย่างเป็นองค์รวม
o    ไม่สามารถให้เกิดขึ้นด้วยการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนทุกๆ กลุ่มในสังคม
o    ยังมีช่องว่างระหว่างนโยบายของประเทศและการปฏิบัติในระดับท้องถิ่น
o    ต้องอาศัยการปรับปรุงกลไกในการประสานงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งการประสานระหว่างภาครัฐทั้งส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น และประชาชน
·         การพัฒนากลไกในประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่าง สผ. กับ สศช. นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการบูรณาการระดับนโยบายและแผนงาน รวมทั้งการตัดสินใจ เนื่องจาก สผ. รับผิดชอบงานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก และ สศช. ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลงานด้านเศรษฐกิจแม้ว่าจะผนวกด้านสังคมเข้าไปภายหลัง
·         การมีส่วนร่วมของประชาชน มีการปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ก็ยังไม่มีความต่อเนื่อง และขาดกลไกที่เอื้อกับประชาชนในท้องถิ่นห่างไกลและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
·         การมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ปรากฎในกระบวนการประชาพิจารณ์ในโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ ยังขาดความชัดเจนและยังมีการการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม นำไปสู่ความขัดแย้งและการเผชิญหน้าในสังคมที่มีการรับรู้และมีผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน
·         การพัฒนาของประเทศยังต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของกลุ่มประชาสังคม และกลุ่มหลักต่างๆ ให้มากขึ้น โดยการมีส่วนร่วมจะต้องเกิดขึ้นตั้งแต่ระดับการตัดสินใจ
·         การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่แท้จริง จะเอื้อต่อการมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นได้กว้างขวางมากขึ้น แต่การดำเนินงานตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น ได้ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนงานที่กำหนดไว้
ค. ประเด็นปัญหาที่สำคัญยิ่งของประเทศ
·         รายงานแห่งชาติของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2540 ได้ระบุประเด็นปัญหาของประเทศที่มีความสำคัญสูงมากในลำดับต้น คือ ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อกระตุ้นการพัฒนาที่ยั่งยืนและนโยบายภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง (โดยเน้นทางด้านการค้า) และบูรณาการเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาในระดับการตัดสินใจ
·         จากความคิดเห็นที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อหลักจริยธรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และได้ระบุประเด็นปัญหาที่สำคัญยิ่งของประเทศ คือ
o    ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อกระตุ้นการพัฒนาที่ยั่งยืนและนโยบายภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง (โดยเน้นด้านการค้า)
o    การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภค m การส่งเสริมการศึกษา การฝึกอบรม และการสร้างสำนึกสาธารณะ
o    กลไกของประเทศในการเพิ่มศักยภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ง. ประเด็นสำคัญของโลก: การศึกษา การฝึกอบรมและการสร้างสำนึกสาธารณะ
·         แม้ว่า รัฐบาลได้มีการขยายการศึกษาภาคบังคับมาโดยตลอด แต่ไม่สามารถทำให้คนไทยสามารถพึ่งพาตนเองและสามารถรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของตนเองและของประเทศได้
·         การศึกษาในระบบเดิมมักเป็นการสร้างการรับรู้ มากกว่าการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
·         ปัจจุบัน รัฐบาลได้ดำเนินการการปฏิรูปการศึกษาตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรรมนูญ เป็นผลให้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และได้ริเริ่มโครงการรุ่งอรุณขึ้น ในปี พ.ศ. 2541 เพื่อเป็นรูปแบบการศึกษาเชิงปฏิบัติการในโรงเรียนทั่วประเทศควบคู่กันไป
·         เกิดรูปแบบการศึกษาทางเลือกทั้งในและนอกเหนือจากการดูแลของรัฐ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับบางกลุ่ม ปรับปรุงการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงวิถีชีวิตกับสภาพแวดล้อม
หนทางข้างหน้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
จ. ความท้าทายที่สำคัญและหนทางข้างหน้า
·         จำเป็นต้องอาศัยวิสัยทัศน์เชิงยุทธระยะยาวที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ ตามแนวทางหลักของความพอเพียง เป็นพื้นฐาน และด้วยคุณค่าทางจริยธรรม และ ต้องดำเนินการไปด้วยความเคารพ ทั้งเคารพต่อสิทธิมนุษยชน สิทธิแห่งรัฐ และเคารพธรรมชาติ
·         ก้าวสู่วิถีการพัฒนาที่ยั่งยืนในลักษณะเชิงรุกและเป็นประโยชน์ได้มากขึ้น ด้วยยุทธศาสตร์ต่อไปนี้ :
1.      ความร่วมมือและภาคีภาพ: บนพื้นฐานของ"กัลยาณมิตร"
2.      การกระจายอำนาจและส่งเสริมความเข้มแข็งในท้องถิ่น: เพื่อความเสมอภาคและคุณภาพชีวิตที่เท่าเทียมกัน
3.      ความสมดุล: ทางสายกลางและความสมดุลของท้องถิ่นกับโลก
4.      การบูรณาการ: การผนวกต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมและสังคมเข้าไว้ในสินค้า บริการ
man";c�%B.:l�$h�n style='mso-tab-count:2'>                   ๑.๑.๔ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ ทั้งจะกำหนดมาตรการในการตรวจสอบ ตลอดจนซักซ้อมความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมิ ให้มีการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพดังกล่าว โดยมีสถาบันการศึกษาและสื่อสารมวลชนทั้งภาครัฐและภาคเอก ชนเข้ามามีบทบาทด้วย
                   ๑.๑.๕ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง ในเรื่องสำคัญ การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจ รัฐ โดยวิธีการประชุมปรึกษาหารือกับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือชุมชน การทำประชาพิจารณ์ หรือประชา มติแล้วแต่กรณี โดยให้สถาบันทางวิชาการ สื่อสารมวลชน องค์กรอาชีพภาคเอกชน และองค์กรเอกชน สาธารณประโยชน์เข้ามามีบทบาทในการร่วมดำเนินการ
                   ๑.๑.๖ จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติด้วยกระบวนการคัดเลือกที่ปลอดจากการแทรกแซงทางการ เมืองเพื่อร่วมกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ จัดทำ แผนพัฒนาการเมืองและมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และ พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติหน้าที่ แล้วประกาศใช้ต่อไป
          ๑.๒ การปฏิรูประบบบริหารราชการ
                   ๑.๒.๑ปรับปรุงและเร่งรัดการจัดโครงสร้างและระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญ เพื่อให้สามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิ ภาพ รวดเร็ว และเสมอภาค
                   ๑.๒.๒ ปรับปรุงระบบงานภาคราชการและรัฐวิสาหกิจให้เป็นระบบเปิดโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นปราศจากการเลือกปฏิบัติ และเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมโดยการจัดทำ แผนพัฒนาระบบราชการและมาตรฐานคุณภาพงานราชการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
                   ๑.๒.๓ ปรับปรุงคุณภาพข้าราชการในการทำงานโดยเน้นผลงาน การมีคุณภาพ ความซื่อสัตย์สุจริต การมีจิตสำนึกในการให้บริการประชาชน และมีความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ทำงานคุ้มค่ากับผลตอบแทน โดยจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ และการส่งเสริมขวัญกำลังใจข้าราชการ
                   ๑.๒.๔ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในวงราชการและวงการเมือง ด้วยการเร่งออกกฏหมายจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและกฏหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ในระหว่างนี้ จะพัฒนาระบบบริหารราชการของหน่วยงานทั้งหลายที่มีอยู่แล้วให้บุคลากรมีความพร้อมและทำงาน ประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฏหมายตามข้อนี้เป็นกฏหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา ๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญ
                   ๑.๒.๕เร่งรัดการออกกฏหมายเพื่อกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดแผนและขั้นตอนดำเนินการเป็นการด่วน ระบุอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ระหว่างราชการส่วนกลางกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันอย่างชัดเจน เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจและบทบาทเพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนการ แบ่งสรรภาษีอากรให้แก่ท้องถิ่น นอกจากนั้น จะดำเนินการปรับปรุงรูปแบบขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นให้มีเพียง ๔ รูปแบบ คือ
            (๑)องค์การบริหารส่วนจังหวัด
            (
๒)เทศบาล
            (
๓)องค์การบริหารส่วนตำบลและ
            (
๔) การปกครองรูปแบบพิเศษ
ทั้งนี้ สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ส่วนผู้บริหารท้องถิ่นหรือ คณะผู้บริหารท้องถิ่นอาจจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือโดยความเห็นชอบของสภา ท้องถิ่นก็ได้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบ และระยะเวลาที่เหมาะสม
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฏหมายตามข้อนี้เป็นกฏหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา ๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญ
                   ๑.๒.๖ ลดบทบาทการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐพร้อมกับสนับสนุนให้ภาคเอกชนรับไปดำเนิน การร่วมกับรัฐ หรือแทนรัฐอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวย บริการแก่ประชาชน และลดภาระการลงทุนของภาครัฐเป็นสำคัญ รวมทั้งจะไม่ดำเนินการใด ๆ ที่มีผลให้ เกิดการผูกขาด ทั้งนี้ จะอาศัยมาตรการทางกฏหมายเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ารับช่วงงานบริการประชาชน ได้คล่องตัวมากขึ้น ส่วนการคุ้มครองผู้ใช้บริการให้ได้รับบริการที่เพียงพอ มีคุณภาพ ในราคาที่เป็นธรรม ก็จะดำเนินการไปพร้อมกันโดยจัดทำแผนแม่บทขึ้นเป็นกรอบกำกับการดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน อย่างเป็นระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาและนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ
                   ๑.๒.๗ เร่งรัดให้มีการออกกฏหมายใหม่หรือปรับปรุงแก้ไขกฏหมายที่มีอยู่แล้วเพื่อเพิ่มมาตรการ ในการคุ้มครองเด็กเยาวชนและสตรี การสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้ด้อย โอกาส การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภค การขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคม และในการ แข่งขันทางการค้าและการลงทุน การปฏิรูปหรือการใช้ประโยชน์ที่ดิน การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยดำเนินการในลักษณะของการปฏิรูป กฏหมาย อย่างเป็นระบบ อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฏหมายตามข้อนี้กฏหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา ๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญ
esW�A o�$h�o-hansi-font-family:"Times New Roman";color:black'>ยา และผลิตภัณฑ์เคมี ไปใช้เพื่อประกอบการพิจารณารับขึ้นทะเบียนยา หรือ ผลิตภัณฑ์เคมี อันเป็นการยอมรับโดยปริยายว่าบริษัทต้นตำรับเป็นเจ้าของข้อมูลผลการทดสอบ ข้อห้ามการใช้ข้อมูลทดสอบที่ว่านี้จะมีไปถึง  พนักงานเจ้าหน้าที่ ๆ มีหน้าที่ในการขึ้นทะเบียนยา หรือผลิตภัณฑ์เคมี บริษัทหรือบุคคลอื่น ในการใช้ข้อมูลผลการทดสอบดังกล่าว   อันเป็นการจำกัดสิทธิของพนักงานเจ้าหน้าที่ และบุคคล ที่จะอาศัยผลการทดสอบดังกล่าวมาใช้กับยา หรือผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน  ผลอันนี้ทำให้บริษัทที่ได้สิทธิผูกขาดในข้อมูลการทดสอบดังกล่าว และยังห้ามมิให้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกันเป็นเวลา 5 ปีนับแต่วันขึ้นทะเบียนของบริษัทที่เป็นเจ้าของข้อมูลการทดสอบ และยังห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับขึ้นทะเบียน ยา หรือผลิตภัณฑ์แล้วแต่กรณี โดยอาศัยผลข้อมูลจากบริษัทเจ้าของข้อมูล เพื่อนำยาหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ออกจำหน่ายในท้องตลาดอีกด้วย   การทำข้อตกลงเอฟทีเอโดยเฉพาะกับประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะต้องถูกบังคับให้ยอมรับในข้อตกลงเพื่อการคุ้มครองข้อมูลการทดสอบทางยา หรือ ผลิตภัณฑ์ทางเคมี   ก็เพื่อปิดประตูบริษัทยาในประเทศที่แม้จะได้วิจัยยาใหม่ได้สำเร็จ แต่ก็จะต้องมาติดขัดกับการใช้ข้อมูลการทดสอบ (Test data)  ที่ได้รับความคุ้มกันและผูกขาด  การจะนำยาที่ค้นคิดไปขึ้นทะเบียนก็ต้องทำการทดลองเอาเอง ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนานมาจนกว่าจะได้ข้อมูลผลทดสอบทางยา  จึงเป็นการปิดประตูตายของผู้ผลิตยาภายในประเทศ   ยิ่งไปกว่านั้นมาตรการให้ความคุ้มครองข้อมูลการทดสอบตามข้อตกลงเอฟทีเอจากสหรัฐอเมริกายังจะเป็นการ ปิดโอกาส   ให้การบังคับใช้สิทธิ (Compulsory licence) อันเป็นมาตรการเดียวของรัฐที่จะใช้อำนาจภายใต้ประโยชน์สาธารณะ (Public interested)  เพื่อคัดคานกับการผูกขาดยาหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคุ้มครองไปแล้วจากระบบสิทธิบัตร  ให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม  สามารถทำได้ต่อไป  เพราะผลจากการให้สิทธิผูกขาดในข้อมูลการทดสอบ  ซึ่งหากรัฐจะบังคับใช้สิทธิผลิตยา  ก็ต้องไปติดขัดในการขึ้นทะเบียนตำรับยาอันเนื่องจาก ข้อห้ามการใช้ข้อมูลผลการทดสอบอยู่ดี   ข้อจำกัดหรือข้อห้ามนี้ครอบคลุมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยตรง  รวมถึงบริษัทหรือบุคคลที่จะผลิตยาจากการบังคับใช้สิทธิดังกล่าวนี้ด้วย  ทำให้หลักเกณฑ์การบังคับใช้สิทธิเป็นหมัน และไม่เกิดผลในทางปฏิบัติในทางเป็นจริง
            (4)  ในกรอบข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ภายใต้ข้อตกลงเอฟทีเอยังเข้าไปจำกัดอำนาจรัฐอีกหลายเรื่องตามมา เช่น การจำกัดการบังคับใช้สิทธิ (Compulsory licence) การห้ามมิให้เพิกถอนสิทธิบัตร (Revocation) และ การห้ามนำเข้าซ้อน (Parallel Import) ซึ่งในแต่ละมาตรการดังกล่าวล้วนแล้วแต่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อป้องกันปัญหาการผูกขาด ทำให้ยามีราคาแพง เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เกิดความเดือดร้อนมาสู่สังคม เป็นข้อจำกัดอำนาจรัฐที่จะถูกนำมาบังคับใช้ภายใต้กรอบที่คับแคบและจำกัด กล่าวคือ จะให้บังคับการใช้สิทธิต่อเมื่อ เพื่อป้องกันการกระทำที่นำไปสู่การจำกัดการแข่งขัน ซึ่งต้องถูกตัดสินตามกฎหมายป้องกันการแข่งขันของประเทศเจ้าของสิทธิ (สหรัฐ) และ ใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ที่ไม่ใช่การค้าเชิงพาณิชย์ หรือในกรณีฉุกเฉินของชาติ ที่มีจำเป็นเร่งด่วนโดยจะต้องให้เจ้าของสิทธิสามารถโต้แย้งคัดค้านต่อศาลได้   สำหรับกรณีการนำเข้าซ้อนเพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่จะซื้อยาประเภทและชนิดเดียวกันในราคาที่ถูกลง  ก็ไม่สามารถทำได้เพราะเป็นข้อห้ามที่ไม่สามารถทำได้เช่นกัน
            (5) ในกรอบข้อตกลงเอฟทีเอของสหรัฐในเรื่องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ (Copyrights) ยังบังคับให้ประเทศคู่เจรจายอมรับและเข้าเป็นภาคีในข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิตอล การใช้อินเตอร์เน็ท สัญญาณดาวเทียมในอีก 3 ข้อตกลงคือ WIPO Copyright Treaty, 1966, WIPO Performances and Phonograms Treaty, 1966 และ Convention Relating to the Distribution of Program-Carrying Signals Transmitted by Satellite, 1974  โดยขยายอายุความคุ้มครองในลิขสิทธิ์เป็นเวลา 70 ปีนับจากวันที่เจ้าของผู้สร้างสรรค์งานถึงแก่ความตาย   บังคับให้ประเทศคู่เจรจาต้องป้องกันการถอดรหัสสัญญาณดาวเทียมจากอุปกรณ์ที่ใช้ถอดรหัส  การให้ความคุ้มครองจากการทำซ้ำชั่วคราว (Temporary reproduction)  ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์   การบังคับให้ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ท (Internet service providers)  ต้องรับผิดชอบตามกฎหมายหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านเครือข่ายของตน และยอมให้เจ้าของลิขสิทธิ์ตรวจสอบการใช้และการทำซ้ำจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ท เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการดำเนินคดีในศาล  และที่ไปไกลกว่านั้นคือ การกำหนดให้ความผิดจากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเป็น อาญาแผ่นดิน  ที่ทำให้เจ้าพนักงานสอบสวนสามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ทันที  โดยไม่จำต้องมีผู้เสียหายร้องทุกข์กล่าวโทษก่อน   อันจะเป็นการนำและใช้ทรัพยากรของประเทศเพื่อคุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของเอกชน    และขนาดมีความพยายามจากรัฐมนตรีไทยบางคนที่ จะให้กำหนดความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาเข้าไปเป็นลักษณะความผิด เพิ่มเติมในความผิดมูลฐานตาม กฎหมายการฟอกเงินอีกด้วย   การบริหารยุทธ์ศาสตร์นโยบายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (ไม่แน่ใจว่าจะมีหรือไม่)  นับได้ว่าไปไกลเกินกว่าที่จะได้ล่วงรู้ถึงอุปสรรค์ ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต ว่าจะกว้างใหญ่ไพศาลลุ่มลึก ขนาดไหนหากจะต้องปฏิบัติตามกรอบข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาตามที่ สหรัฐอเมริกาเสนอและยังนำไปเป็นโทษอาญาแผ่นดิน และเป็นความผิดมูลฐานตาม กฎหมายป้องกันการฟอกเงิน