นาฬิกา

เซี่ยมซีหลวงพ่อพระชีว์

สรุปตลาดหุ้น

ตารางฟุตบอล

สร้างรายได้เพียงง่ายๆ

Subscribe in a reader Google AdSense คือบริการจาก Google ที่ให้ผู้ที่มีเว็บไซต์ สามารถหารายได้โดยการนำ Code ที่ได้จากการสมัครเป็นสมาชิกของ Google มาใส่ไว้ที่เว็บไซต์ของตนเอง ซึ่ง Code นั้นจะเป็น โฆษณาที่ส่งมาจาก Google โดยโฆษณานั้น ๆ จะเป็นโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ ตัวอย่างเช่นถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว โฆษณาที่ส่งมาจาก Google ก็อาจเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ โรงแรม,สายการบิน เป็นต้น

ข้อความ

ข้อความ

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

การนำพลังจิตและพลังจักรวาลมาใช้ในทางสร้างสรรค์ (การฝึกอภิญญา)

การนำพลังจิตและพลังจักรวาลมาใช้ในทางสร้างสรรค์ (การฝึกอภิญญา) หลักการใช้พลังจิตและการสะกดจิตเราคงเคยเห็นภาพคนถูกสะกดจิต และการแสดงพลังจิตกันมามากมายพอควรนะครับ สังเกตไหมครับว่าทำไมผู้สะกดจิตต้องมีการแกว่งลูกตุ้มไปมาสักพักหนึ่ง ให้ผู้ถูกสะกดจิตจะรู้สึกเคลิบเคลิ้มเผลอไปชั่วขณะแล้วสะกดจิตในตอนนั้นนั่นเอง เหตุที่เป็นเช่นนั้น ขออธิบายเชิงอุปมาดังนี้ สมมุติว่ามีลูกแก้วอยู่ในแก้วน้ำ ลูกแก้วนี้เมื่อยู่นิ่งนอนในก้นแก้ว จะไม่เกิดแรงคลื่นกับน้ำในแก้ว แต่เมื่อลูกแก้วขยับ คลื่นก็จะเดินทางออกจากลูกแก้วไปกระทบน้ำทั้งแก้วทำให้เกิด “คลื่นน้ำที่มีพลัง” ขึ้น อุปมา “ลูกแก้ว” นี้ ก็เปรียบได้กับ “จิต” และ “น้ำ” ก็เทียบได้กับวิญญาณที่อยู่รอบดวงจิตหรือเรียกว่าเป็นลมปราณหรือออร่าหรือพลังชีวิตที่หล่อเลี้ยงดวงจิตก็ได้ ส่วนการที่จิตขยับนั้น เสมือนจิตส่งหรือสั่งการ ส่วน “คลื่นน้ำ” นั้น ก็คือ “พลังจิต” นั่นเอง ดังนั้น หากจิตสงบนิ่งก็เปรียบเหมือนพลังนิ่งของน้ำในแก้ว เหมือนเขื่อนที่นิ่งอยู่แต่มีพลังข้างในไม่ส่งออกนอก หากจิตเพ่งออก เช่น การเพ่งกสิณ คือ จิตส่งพลังออกนอกไปยังสิ่งที่เพ่งนั่นเอง การแกว่งลุกตุ้มขณะสะกดจิต เป็นเสมือนการหลอกล่อให้ “จิต” ผู้ถูกสะกด ขยับเขยื้อนไปยังทิศทางต่างๆ เหมือนลูกแก้วที่เริ่มถูกจับแกว่ง จนในที่สุดก็เริ่มจะเกิดพลังขึ้น จังหวะนั้นเอง ผู้สะกดจิตก็สั่งให้จิตผู้ถูกสะกดทำงานอย่างที่ต้องการ จิตนั้นก็เกิดการขยับทำตามคำสั่งนั้นๆ โดยใช้พลังของตนเอง แต่อาศัยการช่วยของผู้สะกดจิต และนำทางไปสู่สิ่งที่จิตควรกระทำนั่นเอง จริงๆ แล้วคำว่า “สะกดจิต” เป็นคำที่ใช้ไม่ถูกต้อง เพราะการสะกดหมายถึงการกดการครอบงำ ทำให้คนทั้งหลายเข้าใจผิดว่า “นักสะกดจิตคือผู้ครอบงำจิตผู้อื่น” ซึ่งไม่จริง แท้แล้วควรใช้คำว่า “การสั่งจิตใต้สำนึก” หรือ “พลังจิตใต้สำนึก” หรือ “การนำจิต” น่าจะเหมาะสมกว่าคำว่า “การสะกดจิต” เพราะไม่ได้มีการสะกดจริงๆ แต่อาจเป็นความเคยชินของคนไทยที่คุ้นกับไสยศาสตร์และการสะกดวิญญาณนั่นเอง ดังนี้ ขอให้เข้าใจว่าคือการสั่งจิตใช้พลังก็แล้วกัน ซึ่งมีหลักการง่ายๆ คือ ให้จิตขยับก่อน จิตที่นิ่งจะมีพลังในตัวแต่ไม่ส่งพลังออกนอก ดังนั้น จำต้องส่งพลังจิตออกนอกเพื่อทำสิ่งที่ต้องการ เช่น การฝึกเพ่งกสิณ นอกจากนี้ยังต้องฝึก “ขยับจิตอย่างมีพลัง” ด้วย หากจิตฟุ้งซ่านซัดส่าย จะไม่มีพลังมากพอทำงานใดๆ จิตต้องรวมนิ่งเป็นหนึ่งเดียวที่เรียกว่า “เอกัคตารมณ์” แล้วส่งไปยังเป้าหมายที่เรียกว่า “การเพ่ง” บางครั้ง การเพ่งไม่เกิดการถ่ายพลังจากจิตไปยังเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง เป็นเพียงการนำจิตไปนิ่งอยู่กับสิ่งที่เพ่งไปเสีย ดังนั้น จำต้องฝึกขยับพลังจิต ให้เคลื่อนที่ อุปมาเหมือนกับการเคลื่อนหินขนาดใหญ่ที่นิ่งอยู่ จำต้องโยกไปโยกมาสักพักแล้วผลักไปยังทิศทางที่ต้องการ ไม่ใช่การยกหินไปวางยังเป้าหมายแล้วปล่อยให้นิ่งอยู่อย่างนั้น แต่ต้องกลิ้งหินไปจึงจะมีแรง หรือพลังจิต นั่นเอง ในการกำหนดทิศทางของ “พลังจิต” ด้วยการสั่งจิตใต้สำนึกด้วยคำพูดต่างๆ ขณะจิตกำลังเคลิบเคลิ้ม อาจใช้การพูดหรือสั่งซ้ำๆ ตามหลักการสะกดจิตก็ได้ หรือ อาจใช้การ “บริกรรม” ก็ได้ ในทางการฝึกจิตแบบพุทธ จะมีการใช้คำบริกรรมนำทางจิตตลอดเวลา พลังจิตก็เกิดขึ้นได้ เช่น ใช้คำบริกรรมว่า “พุทธโธ” เพื่อนำทางจิตให้อยู่กับพุทธศาสนาไม่ออกนอกทาง หรือการใช้คำว่า “โธ” หมายถึง “ธรรม” นั่นเอง ไม่ว่าสิ่งใดมายั่วยุก็จะมองเป็น “ธรรม” จึงวางเฉยไม่หลุดจากที่เดิม ปกติแล้ว จิตที่รวมนิ่งเป็นหนึ่งจะมีพลังมาก ส่วนจิตที่ส่งพลังออกนอกตัวจิตจะมีพลังลดลง การใช้พลังจิตไปสู่เป้าหมายต่างๆ เช่น สั่งร่างกายให้หายป่วย เป็นสิ่งดี แต่หากส่งพลังจิตไปทำร้ายผู้อื่น นอกจากจิตตนเองจะสูญเสียพลังความสงบรวมนิ่งแล้ว ยังทำให้เกิดแรงกรรม ซึ่งเป็นพลังจิตที่แผ่ออกมาป้องกันตัวตามธรรมชาติของทุกดวงจิตอีกด้วย ทำให้ผู้ก่อกรรม ต้องรับแรงกรรมที่สะท้อนกลับมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ผู้ใช้พลังจิตจำต้องใช้ไปในทางที่ดีเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น: