นาฬิกา

เซี่ยมซีหลวงพ่อพระชีว์

สรุปตลาดหุ้น

ตารางฟุตบอล

สร้างรายได้เพียงง่ายๆ

Subscribe in a reader Google AdSense คือบริการจาก Google ที่ให้ผู้ที่มีเว็บไซต์ สามารถหารายได้โดยการนำ Code ที่ได้จากการสมัครเป็นสมาชิกของ Google มาใส่ไว้ที่เว็บไซต์ของตนเอง ซึ่ง Code นั้นจะเป็น โฆษณาที่ส่งมาจาก Google โดยโฆษณานั้น ๆ จะเป็นโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ ตัวอย่างเช่นถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว โฆษณาที่ส่งมาจาก Google ก็อาจเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ โรงแรม,สายการบิน เป็นต้น

ข้อความ

ข้อความ

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

รัฐธรรมนูญ กับ การเมืองในอนาคตและอนาคตทาง การเมือง “ของ” ประชาชน

รัฐธรรมนูญ กับ การเมืองในอนาคตและอนาคตทาง การเมือง “ของ” ประชาชน เกือบครบ 1 ทศวรรษของประชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการต่อสู้ ของขบวนการประชาชน ซึ่งเริ่มตั้งแต่ความตื่นตัวของประชาชน หลังเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ 2535 มาจนถึงการ อดอาหารของ ร.ต.อ.ฉลาด วรฉัตร เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไข รัฐธรรมนูญ ม.211 เพื่อปฏิรูปการเมืองอย่างสันติ จนมาสู่กระบวนการร่าง ตั้งแต่คัดเลือกคณะกรรมการคัดสรร สมาชิกสภาร่างฝ่ายต่างๆ จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ภาคประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด เกิดกลไกการเข้ามาสู่สมาชิกสภาร่างที่ซับซ้อน หลายขั้นหลายตอนมากที่สุด จึงทำให้ประชาชนชาวไทยค่อนข้างได้มีส่วนร่วม ทำให้เกิดความเชื่อมั่นศรัทธา ในระบอบประชาธิปไตยและคาดหวังพัฒนาการของประชาธิปไตยในประเทศไทย ที่จะเติบโตและเป็นระบอบการปกครองที่ตอบสนองความต้องการประชาชนมากที่สุดด้วย แต่ถึงกระนั้น เกือบ 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา แม้ว่าอานิสงส์ของกลไกรัฐธรรมนูญจะเปิดโอกาส กระตุ้น และแก้ไขปัญหาทางการเมืองบางปัญหาให้หายไปได้ แต่หลายปัญหาก็ยังอยู่ และที่สำคัญ กลับมามีปัญหาใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มกดทับและปิดกั้นสิทธิประชาชนยิ่งขึ้น แน่นอนว่า ในโลกนี้ไม่มีระบบการปกครองใดที่สมบูรณ์แบบ ใช้ได้ตลอดไป ตอบสนองความต้องการได้ครบ แต่เนื่องจากโลกหมุนเร็ว หลายสิ่งหลายอย่างก็เปลี่ยนแปลงไป เงื่อนไขเดิมๆ หายไป กลไกความสัมพันธ์ของอำนาจใหม่ๆ พลังการเมืองและปัจจัยเกี่ยวข้องอื่นๆ ก็เปลี่ยนไปด้วย ทำให้ผู้รู้ รวมกระทั่งปัญญาชน คนที่สนใจเหตุการณ์บ้านเมืองต้อง เฝ้ามองระวังและวิพากษ์วิจารณ์ กระบวนการก้าวไปข้างหน้าของสังคม การเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ยุติธรรมเท่าเทียม มีอิสระในเจตจำนงและประชาชนมีสิทธิเสรีภาพได้อย่างแท้จริง หัวใจสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน คือให้ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีอำนาจตรวจสอบอำนาจรัฐ ได้รับการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ มีกลไกอิสระหลากหลายตรวจสอบอำนาจรัฐ นอกจากนั้น ยังปิดกั้นปัญหาการเมืองแบบเก่าๆ ตลอดจนความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองของฝ่ายบริหาร กระนั้น ทิศทางที่ใฝ่ฝันถึงการเมืองการปลดปล่อย และสร้างสังคมที่เป็นธรรมของประชาชนนั้น เชื่อว่ามาถูกทิศทาง แต่ยังไปไม่ถึงฝั่ง และถ้ายิ่งรีรอ ชักช้าก็อาจจะยิ่งกัดกร่อนให้กลไกและความศรัทธาทางการเมือง เสื่อมลงได้ เนื่องจากภาพที่ปรากฏในปัจจุบันคือ อำนาจทุน อำนาจการเมือง อำนาจรัฐ และอำนาจพรรค กำลังกลายเป็นเนื้อเดียวกัน และที่สำคัญกำลังไหลมารวมศูนย์ในมือคนๆ เดียวมากขึ้น ในขณะที่กลไกอิสระที่ตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญ เพื่อถ่วงดุล ยับยั้ง และกลั่นกรองการใช้อำนาจ ที่อาจจะส่งผลต่อความเป็นธรรมกับประชาชน ได้กลายเป็น “เสือกระดาษ” ไปแล้ว ไม่มีเขี้ยวเล็บ ไม่มีสติปัญญาเพียงพอ ไม่ได้มีเครื่องมือเทคโนโลยี ไม่มีอำนาจ และ (เริ่ม) ไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชน ที่สำคัญกลไกการเมืองแบบตัวแทนที่เล่นเกมส์ อยู่นั้น “ไม่เคารพต่อเจตจำนงประชาชนแล้ว” การกลับมาทบทวนรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปรัชญาบางข้อ กระบวนการร่างแบบใหม่ๆ ตลอดจนเจตจำนงและเนื้อหาในรัฐธรรมและขนาดหรือ รูปแบบการเมือง อำนาจ กลไกการทำงานและกลไกองค์กรอิสระ ซึ่งล้วนชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันเกิดปัญหา อุปสรรค ข้อเท็จจริงและแนวทางที่ควรจะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้การเมือง เป็นเรื่องของประชาชนมากขึ้น อีกทั้ง หลักการเปิดโอกาสให้นักธุรกิจเข้ามาได้ในโครงสร้างอำนาจ ของระบบพรรคการเมืองโดยง่าย และควบคุมอำนาจของพรรคได้มาก ที่สำคัญทำให้เกิดวัฒนธรรมการให้ทุน และการถอนทุน เกิดความสูญเสียทรัพยากรของส่วนรวม อย่างไม่สามารถคาดการณ์ ปริมาณ ตลอดจนถึงการสิ้นสุดได้ ซึ่งพัฒนาการทางการเมืองทั้งหมด กำลังกลายเป็นการเมืองเพื่อการแบ่งปันผลประโยชน์ในระดับนโยบายเท่านั้น ดังนั้น ข้อเสนอพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อให้ขบวนการประชาธิปไตย อันมีการเมืองเป็นกลไกชี้นำ สามารถก้าวเดินไปได้อีกก้าว ก็ต้องสร้างกระแสและกระบวนการทบทวน เงื่อนไข ข้อจำกัด และช่องทางใหม่ๆ ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อ ทิศทางการเมืองไทย ระดับหนึ่งเชื่อมั่นร่วมกันว่า ก้าวไปใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น หากเทียบเคียงประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านๆ มา ก็กระนั้น ก็ไม่ได้หมายถึงว่า ได้บรรลุถึงเจตจำนงประชาชนแล้ว กลับกันยังต้องเผชิญบรรยากาศที่อึดอัดขัดเคืองคับข้อง ในกระบวนการบริหาร กระบวนการแก้ไขปัญหาและกระบวนการมีส่วนร่วมตัดสินใจระดับนโยบาย หรือ กำหนดอนาคตของตนเอง ซึ่ง ทีมงานไทยเอ็นจีโอ ขอร่วมสนับสนุนให้เกิดกระบวนการปฏิรูปกรอบคิด กลไกและเนื้อหากฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เจตนารมณ์ของประชาชนเป็นจริงมากขึ้น 7 ปี รัฐธรรมนูญ (ฉบับประชาชน) สังคมไทยถูกเบี่ยง ก่อนจะเริ่มวาระทางการเมืองครั้งใหม่ ข่าวความเคลื่อนไหวในส่วนขององค์กรภาคประชาชนมีขึ้น อย่างต่อเนื่อง เวทีเสวนา 7 ปีรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน ปัญหา อุปสรรคและทางออกปฏิรูปการเมืองไทย (10 ตุลาคม 47) เป็นเวทีหนึ่งที่ต้องการชี้ให้สังคมไทยกลับมา ทบทวน ถามถึงที่มา ช่องว่างและจุดโหว่ของรัฐธรรมนูญ หลาย ๆ ความเห็นจากนักคิด-นักประชาธิปไตยทางตรง ในวันนั้น ร่วมชำแหละรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีสุดของประเทศไทย ทีมงานไทยเอ็นจีโอ ถือโอกาสหลังเลือกตั้งหยิบเอาความคิดเห็นของ คณิณ บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ มานำเสนอ เพราะจะเป็นการดีหรือไม่ หากเราจะเริ่มกลับมาตั้งคำถามว่า รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน วันนี้ มีปัญหาหรือไม่? มาถึงวันนี้ เราได้เห็นแล้วว่าเจตนารมณ์ของประชาชนในการผลักดันรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดเมื่อ 7 ปีที่แล้วได้ถูกเบี่ยงเบน ได้ถูกเบียดบังเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ให้กับบางคน บางฝ่าย บางกลุ่มแค่ไหนเพียงไร ในที่สุดแล้ว หน้าที่ของประชาชนซึ่งเป็นทั้งเจ้าของประเทศ เป็นทั้งเจ้าของรัฐธรรมนูญและเป็นคนสำคัญที่ช่วยกันผลักดันกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จนกระทั่ง ประสบความสำเร็จได้ประกาศใช้มาเป็นเวลา 7 ปีแล้ว ควรจะทบทวนกันสักครั้งหนึ่งว่าเวลานี้เราควรจะทำอย่างไรกันต่อไป ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องทบทวน คือ ข้อที่ 1 การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ระบุไว้ชัดเจน และเป็นรัฐธรรมนูญทีให้สิทธิและเสรีภาพ กับประชาชนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ข้อที่ 2 การลดอำนาจรัฐเพิ่มอำนาจประชาชน แต่เดิมรัฐมีอำนาจมากเกินไป จนกระทั่ง เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจของรัฐรังแกกดขี่ข่มเหงประชาชนทำให้ประชาชนเกิดความเดือดร้อน เพราะฉะนั้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกแบบมาเพื่อให้ลดอำนาจรัฐในส่วนตรงนี้แต่อำนาจรัฐในส่วนที่จะใช้บริหารประเทศ บริหารบ้านเมืองไม่ได้ลด ตรงกันข้ามกลับไปเพิ่มอำนาจให้เพื่อให้มีเสถียรภาพ มีความมั่นคงมากขึ้น แต่ในส่วนที่อำนาจจะลดไปเพราะว่า มีความเจ็บปวดที่คนไทยประสบมาตลอดมา ยามใดมีอำนาจ มีตำแหน่ง มีกฏหมายอยู่ในมือก็ใช้อำนาจใช้ตำแหน่งใช้กฏหมายที่มีอยู่ในมือนั้นมากดขี่ข่มเหงรังแกประชาชนและเบียดบังผลประโยชน์จากประชาชน นั่นคือ เป้าหมายที่จำเป็นต้องลดอำนาจรัฐและไปเพิ่มอำนาจประชาชน เพิ่มอำนาจในการที่จะต่อสู้ปกป้องตัวเอง ไม่ใช่ว่าไปวิพากษ์วิจารณ์อะไรก็ถูกเจ้าหน้าที่รัฐฟ้องร้องดำเนินคดีในฐานหมิ่นประมาทจะจับเข้าคุกเข้าตะราง ประท้วงอะไรก็ไม่ได้ ร้องเรียนอะไรก็ไม่ได้ แต่ปัจจุบันคำว่า ลดอำนาจรัฐเพิ่มอำนาจประชาชนกลับถูกนำไปบิดเบือน ลดอำนาจรัฐ คือ เอาเงินไปแจกให้ถึงมือประชาชนทั่วประเทศโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการในการพิจารณาขององค์กรต่าง ๆ นี่ไม่ใช่การลดอำนาจรัฐเป็นการรวบอำนาจโดยใช้กลไกเทคนิคด้านการตลาดในการโฆษณาชวนเชื่อ ข้อที่ 3 การสร้างความแข็งแกร่งให้กับการเมืองภาคประชาชน ระบบประชาธิปไตยจะแข็งแกร่งไม่ได้ถ้าการเมืองภาคประชาชนอ่อนแอ ด้วยเหตุนี้รัฐธรรมนูญจึงเขียนไว้ว่าให้ประชาชนเข่าไปมีส่วนร่วมในการเมืองในทุกระดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐแต่เอาเข้าจริง ๆ เอ็นจีโอ ประชาชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กลับถูกวิพากษ์วิจารณ์ ถูกแบ่งแยกจนเสียความเข้มแข็ง ข้อที่ 4 การปฏิรูปการเข้าสู่อำนาจ การใช้อำนาจและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐธรรมนูญได้วางเอาไว้เป็นขั้นเป็นตอนอย่างดีแล้ว แต่ก็มีการซื้อเสียง ซื้อ ส.ส. เข้าคอก เสียงไม่ถึงก็สั่งยุบพรรคซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ต้องการให้ ส.ส. ย้ายพรรค ย้ายบ่อยระบบพรรคการเมืองก็วุ่นวาย อ่อนแอ ข้อสุดท้าย การปฏิรูปสื่อ ต้องให้สื่อเป็นกลไกที่เข้มแข็งเพราะกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนถ้าไม่มีสื่อสารมวลชนเป็นเครื่องมือ ภาคประชาชนจะไม่มีโอกาสทำการเมืองที่เป็นระบบ โดยเฉพาะ เรื่องการตรวจสอบได้เลยกลายเป็นว่าสื่อที่เคยถูกครอบงำในอดีตนั้น สถานการณ์ปัจจุบันเลวร้ายมากกว่าทุกยุคทุกสมัย ลุกลามไปถึงการซื้อสื่อ แม้กระทั่ง ไอทีวี ที่เกิดขึ้นมาจากเลือดเนื้อน้ำตา ประชาชนที่ต้องการสื่อเป็นกระบอกเสียงให้ในสมัยพฤษภาทมิฬ ปี 35 ก็ยังเข้าไปเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ อสมท. ก็เหมือนกันแม้แต่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อสมท. ก็ไม่มีใครลุกมาคัดค้านในการแปรรูป อสมท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ คลื่นความถี่สาธารณะต้องเป็นของชาติก็เอาไปแปรรูป กำลังมีความพยายามเอา ททบ. 5 เข้าไปแปรรูปในตลาดหลักทรัพย์อีก รวมถึงทรัพย์สมบัติของชาติอีกหลายอย่างก็เอาเข้าไปแปรรูปเป็นของเอกชนซึ่งมีไม่กี่คนเป็นเจ้าของเท่านั้น ทั้งหมดนี้ก็พอจะสรุปได้ว่า ถึงแม้เราจะสร้างกลไกไว้อย่างดีแล้วในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยคาดหวังว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ที่พึ่งแก่ประชาชน เป็นหลักของบ้านเมืองในการพัฒนาประเทศ ในการเพิ่มศักยภาพของคนไทย แต่กลไกเริ่มมีปัญหาเพราะคนมีอำนาจเข้าไปควบคุมสภาพและกลไกต่าง ๆ หมดสิ้นความเป็นอิสระ ถึงเวลาที่ต้องมาดูว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาหรือไม่ ความบกพร่องอยู่ที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรือเปล่า ถ้ารัฐธรรมดีจริงทำไมไม่ปกป้องที่จะไม่ให้นักธุรกิจการเมืองเข้ามายึดกุมสภาพ จนกระทั่ง คนคนเดียวจะกลายเป็นเจ้าของประเทศ ถ้าเป็นรัฐธรรมนูญทีต้องแก้รัฐธรรมนูญแล้วจะมีหลักประกันอย่างไรว่าถ้าแก้แล้วทุกอย่างจะดีขึ้น ตรงกันข้าม ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ใช่ตัวปัญหาแต่อยู่ที่คนที่เข้ามาใช้เข้ามามีอำนาจเป็นคนที่ไม่เคารพกติกา ถ้าตีปัญหาไม่แตกไม่รู้ต้อนตอของปัญหาก็เท่ากับแก้ปัญหาไม่ถูกที่คัน ถ้าเข้าไปแก้รัฐธรรมนูญโดยรัฐธรรมนูญ ผ่านมา 7 ปี ประชาชนยังรอคอยคำตอบว่าสิทธิเสรีภาพที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐหรือองค์กรอิสระต่าง ๆ ถามว่า ประชาชนได้รับไปครอบถ้วนแล้วหรือยัง บางมาตราไม่มีกฎหมายรองรับเลย ในขณะที่กฏหมายลูกที่ออกมาหลายฉบับขัดรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีต้นทุน ประชาชนได้เสียเลือดเสียเนื้อหลายรุ่น จนกระทั่ง มาผลักดันเป็นรัฐธรรมญฉบับประชาชน นอกจากจะไม่ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มทุนแล้วยังขาดทุนหนักเข้าไปทุกที หากเราหลงทางในการแก้ไข ตีปัญหาไม่แตกก็เท่ากับเป็นการทรยศประชาชน สิ่งที่เราต้องต่อสู้ต่อไปก็คือต้องต่อสู้ให้ได้มาซึ่งประโยชน์ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญเป็นปลายเหตุแก้ทีหลังมีคำถามว่าเราสร้างบ้านไว้ดีอยู่แล้ว มีโจรมาขึ้นบ้าน เราจะไล่หรือเผาบ้านทิ้ง สำหรับผมคิดว่า เรามีความจำเป็นที่จะต่อสู้ต่อไปเพื่อไล่โจรออกจากบ้าน ให้บ้านหลังนี้มีความผาสุกต่อไป การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องธรรมดา รัฐธรรมนูญ ก็คือ กฏกติกาซึ่งเมื่อตั้งขึ้นมาได้ก็ต้องแก้ไขได้ แต่ต้องพิจารณาถึงเงื่อนไข เงื่อนเวลาและประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของประเทศที่เขาร่วมลงทุนกันไปหลายรุ่นจนถึงรุ่นธงเขียว โดยภาพรวม เขายังต้องการสิ่งนี้ ผมคงเห็นด้วยว่ารัฐธรรมนูญยังคงมีข้อบกพร่อง ในหลายประเด็นที่ต้องแก้ไข เช่น เรื่องการสัมปทานมาตรา 210 (2) ซึ่งเราถูกปล้นไปตั้งแต่ตอนยกร่าง ที่ผ่านมาจะได้สัมปทานมาตั้งแต่เมื่อไรก็แล้วแต่ เมื่อไรก็ตามที่มาเป็น ส.ส. หรือรัฐมนตรีต้องทิ้งสัมปทานสัญญากับรัฐที่ผูกขาดต้องทิ้งหมด รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีมาตรา 210 (2) ถูกปล้นไปโดยกระบวนการในตอนยกร่าง ถ้าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญกันขึ้นมา ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ต้องเอาคืน นอกจากนั้น ประเด็นการจำกัดสิทธิประชาชนในระดับรากหญ้า ผู้สมัคร ส.ส.,ส.ว. ต้องจบปริญญาตรี อย่างนี้ต้องเอาออกไป เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน การถือหุ้น การมีผลประโยชน์ในทางธุรกิต้องตัดไป รวมถึง คู่สมรสและบุตรด้วย ต้องเปิดเผยทรัพย์สินด้วย ผมเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีความจำเป็น แต่ยังไม่ใช่เวลานี้ เราต้องรักษารัฐธรรมนูญไว้ ถ้าไม่เช่นนั้น อาจจะมีคนกลุ่มหนึ่งที่เขาไม่สนใจอะไรทั้งนั้น ถ้าเขาจะเอาทักษิณลง เขาจะเอาลงทั้งระบบ รวมถึงรัฐธรรมนูญด้วย หมายเหตุ จากจดหมายข่าว คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) วาสารว่าด้วยการเมืองใหม่ ประชาธิปไตยทางตรง ฉบับที่ 34 ตุลาคม-ธันวาคม 2547

ไม่มีความคิดเห็น: